การศึกษาความคาดหวังของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, การจัดการเรียนการสอน, นิสิตระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามด้วยมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในด้วยสูตรครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ความคาดหวังของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียน การสอนของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงอันดับความคาดหวังจากค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ 1) ด้านดูแล สนับสนุน และช่วยเหลือ 2) ด้านหลังการสำเร็จการศึกษา 3) ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และ 4) ด้านอาจารย์ผู้สอน
References
กิตดา ปรัตถจริยา และอุบล เลี้ยววาริณ. (2554). รายงานการวิจัยความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ตามความคาดหวังของนักเรียนและนักศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์. (2561). รายงานผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา ปีการศึกษา 2561. นครปฐม: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
. (2561). รายงานผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2561. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
. (2562). รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์. 10 กรกฎาคม 2562 ณ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ผู้จัดการออนไลน์. (2561). ปี 62 “มหาวิทยาลัยไทย” น่าห่วง นศ.น้อย ที่ว่างเยอะ อาจมี “ยุบ”สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562, จาก https://mgronline.com/daily/detail 9610000128683.
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. (2524). 54 พระบรมราโชวาทด้านการศึกษา จาก ในหลวงรัชกาลที่ 9. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก https://campus.campus-star.com/variety/21901.html.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2561). หลักสูตรการผลิตครู 5 ปี หรือ 4 ปี ดีกว่ากัน. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562, จาก http://pr.swu.ac.th/?p=868.
สุกัญญา โภคา และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบริการของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน “ก้าวย่างตามพ่อ สานต่อการศึกษา พัฒนาชาติไทย” 7-8 ธันวาคม 2553. ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม.
สำนักงานคณะกรรมการการการอุดมศึกษา. (2558). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่
เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562, จาก www.edpex.org.
. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อภิณัฏฐ์ ทรัพย์มาก และเนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์. (2559). ปัจจัยจูงใจในการเลือกอาชีพรับราชการ
ก่อนและหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551: กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 11(1), 83-97.
อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2552). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 6(3), 69-86.
อุดม คชินทร. (2561). เปิดแนวคิดปรับหลักสูตรผลิตครู ทางเลือกใหม่สนองโลกศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1405760.
Kirkendall, D.R., Gruber, J.J. and Johnson, R.E. (1987). Measurement and Evaluation for Physical Educators. Champaign, IL: Human Kinetics Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต