การศึกษาทักษะนาฏศิลป์ไทยเรื่องระบำนพรัตน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา สุโพธิ์พัฒน์
  • สุวรรณา จุ้ยทอง
  • พิทักษ์ นิลนพคุณ

คำสำคัญ:

ทักษะนาฏศิลป์ไทย, ระบำนพรัตน์, ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะนาฏศิลป์ไทยเรื่องระบำนพรัตน์ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และเปรียบเทียบทักษะหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนกลุ่มละ 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค  STAD  และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 18 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง แบบประเมินใช้เกณฑ์คะแนนแบบรูบริคส์ในการให้คะแนน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05     (t = 14.61) 2) ทักษะที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 5.39)

References

จุฑารัตน์ ดวงเทียน. (2558). แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงค่านิยม 12 ประการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มะลิวัลย์ ปัทมะ. (2551). การพัฒนาเจตคติและความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคแม่แบบผสมผสานการวิจัยเชิงทดลองแบบอนุกรมเวลา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลศรี อุปรมัย. (2555). นาฏกรรมและการละคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (2561). สถิติการศึกษาประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
สุพัตรา รักชาติ (2557). ผลการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และทักษะปฏิบัติดนตรีไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). การสำรวจการมีการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อรรถวัตร ทิพยเลิศ (2560). กิจกรรมการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะปฏิบัติกีตาร์ตามแนวคิดของเดวีส์วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Davies, I.K. (1971). The Management of Learning. London: McGraw - Hill.
Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning. (2nd ed.). USA: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22

How to Cite

สุโพธิ์พัฒน์ ส. ., จุ้ยทอง ส. . ., & นิลนพคุณ พ. . (2020). การศึกษาทักษะนาฏศิลป์ไทยเรื่องระบำนพรัตน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 16–27. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248335