ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยมต่อสมรรถนะทางอารมณ์ ของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • อัญชิสา สุขาภิรมย์
  • ระพินทร์ ฉายวิมล
  • สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางอารมณ์, นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1, การปรึกษากลุ่ม, ทฤษฎีปัญญานิยม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยมต่อสมรรถนะทางอารมณ์ของนิสิตชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิต จำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือแบบวัดสมรรถนะทางอารมณ์ และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีปัญญานิยม โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีปัญญานิยมเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางอารมณ์ จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาทีส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิวแมนคูล

ผลการศึกษา พบว่า ระหว่างการทดลองนิสิตกลุ่มทดลองมีสมรรถนะทางอารมณ์สูงกว่านิสิตกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลนิสิตกลุ่มทดลองมีสมรรถนะทางอารมณ์สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยมมีผลต่อสมรรถนะทางอารมณ์ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1

References

ณัฐวุฒิ สรพิพัฒน์เจริญ, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ และอนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2558). การปรับตัวของนิสิตที่รับการปรึกษาออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการปรึกษาแบบเน้นทางออก. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. ปีที่ 13 (ฉบับที่ 1), 79-93.
ดวงมณี จงรักษ์. (2556). ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบำบัด (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
นันทิชา บุญละเอียด. (2554). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประภาส ปานเจี้ยง. (2558) .ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์และรูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสงขลา. คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สงขลา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทยฯ. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2560, จากhttp://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/integrated_development_of_thai_children.pdf.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2557). การศึกษาแบบองค์รวม. จาก http://www.royin.go.th/?knowledgeledges=การศึกษาแบบองค์รวม.
โสภิตา พุ่มดียิ่ง. (2547). การอนุมานสาเหตุความรับผิดชอบและการเผชิญปัญหาด้านการเรียนของนิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนสูงและต่ำ. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23

How to Cite

สุขาภิรมย์ อ. . ., ฉายวิมล ร. ., & สุทธิธาทิพย์ ส. . (2019). ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยมต่อสมรรถนะทางอารมณ์ ของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 178–195. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248296