การศึกษาองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยบูรณาการความรู้ทางกายวิภาค เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) วิทยาลัยนาฏศิลป
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ (โขน), กายวิภาค, สมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน)บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยบูรณาการความรู้ทางกายวิภาค เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) และ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยบูรณาการความรู้ทางกายวิภาค เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยบูรณาการความรู้ทางกายวิภาค เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชานาฏศิลป์ไทย (โขน) ในวิทยาลัยนาฏศิลปและมีประสบการณ์การสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยบูรณาการความรู้ทางกายวิภาค เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) เป็นกระบวนการร่างรูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยบูรณาการความรู้ทางกายวิภาค เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยบูรณาการความรู้ทางกานวิภาค เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยการสัมภาษณ์ครู อาจารย์ และศิลปินแห่งชาติ สำรวจความสามารถทักษะฝึกเบื้องต้นของโขน และบูรณาการความรู้ทางกายวิภาค เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) อยากให้มีการพัฒนาด้านต่อไปนี้ ประกอบด้วย 3 ด้าน 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) 3) คุณลักษณะของผู้เรียนโขน และ 2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยบูรณาการความรู้ทางกายวิภาค เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) เป็นกระบวนการศึกษาความจำเป็นต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทย (โขน) โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) โครงสร้างรูปแบบ การเรียนการสอน 4) เวลาการเรียนการสอน 5) เนื้อหาสาระการเรียนการสอน 6) กิจกรรมการเรียนการสอน มี 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ (Perception) ขั้นที่ 2 ขั้นการเตรียมความพร้อม (Readiness) ขั้นที่ 3 ขั้นการสนองตอบภายใต้การควบคุม (Guided response) ขั้นที่ 4 ขั้นการให้ลงมือกระทำร่วมมือแบบกลุ่ม (Groupaction) ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทำอย่างชำนาญ (Skillfully) ขั้นที่ 6 ขั้นการปรับปรุง (Improve) ขั้นที่ 7 ขั้นการคิดริเริ่ม (Inventiveness) ขั้นที่ 8 ขั้นการประเมิน (Assessmet) 7) สื่อการเรียนการสอน และ 8) วัดและประเมินผล
References
จุลชาติ อรัณยนาค. (2561, 6 ตุลาคม) ตำแหน่งอาจารย์สอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญโขนยักษ์. สัมภาษณ์.
จตุพร รัตนวราหะ. (2561, 1 ธันวาคม) ตำแหน่งอาจารย์สอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศิลปินแห่งชาติด้านการแสดง ผู้เชี่ยวชาญโขนยักษ์. สัมภาษณ์.
ฉวีวรรณ กุดหอม อุษา ปราบหงษ์ พจมาน ชำนาญกิจ.(2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, 7(18), 49-59.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
-------. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2539). โขน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
ธีรภัทร ทองนิ่ม. (2561, 9 ธันวาคม) ตำแหน่งอาจารย์สอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญโขนยักษ์. สัมภาษณ์.
ธวัช เติมญวน. (2561, 9 ธันวาคม) ตำแหน่งอาจารย์สอนวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายวิภาค. สัมภาษณ์.
นิวัฒน์ สุขประเสริฐ. (2561, 5 สิงหาคม) ตำแหน่งอาจารย์สอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญโขนลิง. สัมภาษณ์.
ยูเนสโก. (2561). มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม (โขน). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561. จาก
https://www.bbc.com/thai/thailand-46389041
วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2562, หน้า 5-6) คู่มือนักเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บัวเงิน
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. (2561, 1 ธันวาคม) ตำแหน่งอาจารย์สอนนาฏศิลป์ไทย (โขน) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศิลปินแห่งชาติด้านการแสดง ผู้เชี่ยวชาญโขนพระ. สัมภาษณ์.
Dave, R . (1967). Psychomotor domain. Berlin: International Conference of Educational Testing.
Gagne, R. M. (1977). The conditions of learning and theory of instruction. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Simpsom. D. (1972). Teacing physical education: A system approadch. Massachusetts: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต