การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากสิ่งเหลือใช้ของเกลือทะเล กลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรีเพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันเชิงพาณิชย์
คำสำคัญ:
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์, สิ่งเหลือใช้จากเกลือทะเล, เพชรสมุทรคีรีบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความพร้อมด้านการจัดการกลุ่มและการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหลือใช้เกลือทะเลของกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี 2. ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคและ 3. แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากสิ่งเหลือใช้ของเกลือทะเล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีใช้การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ข้อที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการเกลือทะเลมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองโดยต้องการรับการสนับสนุนด้านงบประมาณ ทักษะความชำนาญและความรู้ บุคลากรในการปฏิบัติงาน สร้างความร่วมมือภาคีเครือข่าย และการกำหนดนโยบายการส่งเสริมการพัฒนาและการตลาด ข้อที่ 2พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคพบว่า อายุ อาชีพและรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเกลือทะเลต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรูปแบบการพัฒนาสิ่งเหลือใช้จากเกลือทะเลเห็นว่าควรพัฒนาเป็นของที่ระลึกมากที่สุด และข้อที่ 3 แนวทาง การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามการประยุกต์ใช้ผลทางการตลาดและได้ตกลงร่วมกันกับสมาชิกกลุ่มฯ พบว่า ผลิตภัณฑ์ควรมีอัตลักษณ์และสื่อความหมายวิถีของเกลือทะเลไทยในกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี
References
คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ.
ชัยยุทธ จันทองอุ่น. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และโอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยรังสิต.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ.
ธนาธิป บัวฝ้าย.( 2560). ธุรกิจชุมชนแนวทางการพัฒนาชนบท. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560, จาก http://www.hu.ac.th.
บุณฑวรรณ วิงวอน. (2555). การเป็นผู้ประกอบการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2560). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560, จาก http://www.kmitl.ac.th/research/.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2560). คู่มือการจัดทำแผนบูรณาการยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคมภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สุวิมล แม้นจริง. (2552). การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท เอช. เอ็น. กรุ๊ป จำกัด.
วิมลพรรณ อาภาเวท. (2553). หลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
หน่วยวิจัยเกลือทะเล.(2559). แนวทางการแก้ไขปัญหาเกลือทะเลแบบองค์รวมด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Armstrong, Gary and Kotler, Philip. (2009). Marketing an introduction. (9th ed). Newfersey: Pearson Education.Etzel, 127.
Kotler, Philip. (2003). Marketing management . (11th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice –Hall.
Kotler, Phillip. and Armstrong, Gary. (2006). Principle of marketing. (8th ed). Prentice-Hall, Inc.
Mc Carthy, E.J. and W.D. Perreault, Jr. (1990). Applications in basic marketing. Hpmewood McGraw-Hill Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต