การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะเชิงผลิตภาพ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ศิรินภา คุ้มจั่น
  • สุวรรณา จุ้ยทอง
  • พิทักษ์ นิลนพกุล
  • กันต์ฤทัย คลังพหล

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้เชิงผลิตภาพ, สมรรถนะ, สาระเศรษฐศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะเชิงผลิตภาพสาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะเชิงผลิตภาพสาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยาย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบศึกษาเอกสารและแบบสังเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะเชิงผลิตภาพสาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน 3) บรรยากาศในการเรียนรู้ และ 4) สมรรถนะของผู้เรียนด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านคุณลักษณะเชิงผลิตภาพ 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะเชิงผลิตภาพสาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นเตรียมบริบท ทบทวนความรู้ (2) ขั้นปฏิสัมพันธ์ สร้างสรรค์ความรู้ (3) ขั้นเผชิญสถานการณ์ เพื่อการประยุกต์ใช้ (4) ขั้นรวมความคิด ผลิตชิ้นงาน (5) ขั้นประเมินผล ชื่นชมชิ้นงาน และ 5) การวัดและการประเมินผล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทัน โลกศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
เชาวรินทร์ สีใหม่. (2552). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อมโนทัศน์ ทางธรณีวิทยา และความสามารารสร้างแบบจำลองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิระ ดีช่วย. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซีมร่วมกับการ คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยาและความสามารถในการ สร้างองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี บัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิราภรณ์ พิมใจใส. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรัฏฐ์ สวัสดิพัชรกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาอาชีวะเกษตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทิฏิ์ภัทรา สุดแก้ว (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเสริม วีสกุล. (2555). วิกฤตอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
-------. (2560). คิดผลิตภาพ สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรศิริ อูปคำ และคณะ. (2558). การใช้วิธีสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึ่มเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนสาขาวิชาการท่องเที่ยวระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ. 4 (2). 115-123.
ยุพิน พันธุ์ดิษฐ์. (2554). ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิภาวรรณ พินลา และวิภาดา พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง กับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริขวัญ วงศ์ชุมพันธ์. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึ่ม (Constructionism) ด้วยกล่องสมองกล IPST-MicroBOX เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนโปรแกรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิริศุกร์ ศิริโชคชัยตระกูล และคณะ. (2558). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ (CRP) รายวิชา ส14101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลับขอนแก่น. 38 (4). 131-139.
สุคนธ์ สินะพานนท์. (2558). พัฒนาทักษะการคิด...ตามแนวปฏิรูปการศึกษา: นำสู่การจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
Anderson, T. P. (1997). Using models of instruction. In C. R. Dills and A. J. Romiszowski (eds). Instructional Development Paradigms. Englewood Cliffs, NJ: Educational Technology Publications.
Arens, F.W. (2007). Contemporary advertising. (8th ed.). New York: McGraw-Hill.
Joyce, B. & Weil, M. (2015). Models of Teaching. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Kemp, Jerrold E. (1985). The instructional design process new. Harper & Row Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23

How to Cite

คุ้มจั่น ศ. ., จุ้ยทอง ส. . ., นิลนพกุล พ. . ., & คลังพหล ก. . . (2019). การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะเชิงผลิตภาพ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 127–143. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248265