การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการอ่าน ในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • นรารักษ์ ประดุจพรม
  • สุเมธ งามกนก
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียน, โรงเรียนประถมศึกษา, ความเป็นเลิศด้านการอ่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและรับรองรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการอ่านในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การพัฒนาร่างรูปแบบโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จากการสังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนารูปแบบ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน โดยใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าสถิติที่ใช้ คือ ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range) และ 3) ตรวจสอบและรับรองความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการอ่านในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการอ่านในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร  2) กลยุทธ์ 3) การสรรหาและพัฒนาครูและบุคลากร 4) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 5) การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6) กระบวนการบริหารจัดการ 7) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ 8) ผลลัพธ์การดำเนินการ  โดยรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสอดคล้อง รวมทั้งมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2552). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สาหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นรคิด อาทิเวช. (2551). กระบวนการบริหารที่ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์คุรศาตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาราชภัฏอุบลราชธานี.
เพ็ญจันทร์ อุปพงษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเอกชนสู่ความเป็นเลิศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนา การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ราตรี ศรีไพรวรรณ. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันภาษาไทย. (2558). หนังสือคู่มือการดำเนินงาน อ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สมยงค์ แก้วสุพรรณ. (2553). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 57-63.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). รายงานประจำปี 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 9. (2561). แผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคตะวันออก (พ.ศ. 2562- 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานศึกษาธิการภาค 9.
สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานผลการดำเนินงาน การกำกับติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย “ปี 2558 เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้” และนักเรียนชั้น ป. 1 เมื่อจบชั้น ป. 1 ต้องอ่านออกเขียนได้ และมีมาตรการประเมินผลให้เป็นรูปธรรม” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: แม็ทพอยท์.
โสภิตา เพชรกูล. (2560). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อนุสิทธิ์ นามโยธา. (2555). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อรรถสิทธิ์ รัตนแคล้ว (2556). การใช้กระบวนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
อัจฉรา คหินทพงศ์. (2555). การนำเสนอรูปแบบการบริหารสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Keeves, J. P. (1997). Educational research, methodology, and measurement. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23

How to Cite

ประดุจพรม น. ., งามกนก ส. ., & ปั้นหุ่น ส. . (2019). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการอ่าน ในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 112–126. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248259