รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวผจญภัยด้วยจักรยานเสือภูเขาจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สัจจา ไกรศรรัตน์
  • สุนิสา โพธิ์พรม
  • สุนีย์ หนูสง

คำสำคัญ:

จักรยานเสือภูขา, การท่องเที่ยวเชิงกีฬา, การท่องเที่ยวผจญภัยด้วยจักรยานเสือภูเขา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวผจญภัยด้วยจักรยานเสือภูเขาตามความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนจังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาศักยภาพของจังหวัดราชบุรีในการพัฒนาการท่องเที่ยวผจญภัยด้วยจักรยานเสือภูเขา และ 3) เสนอรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวผจญภัยด้วยจักรยานเสือภูเขา จังหวัดราชบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกรายบุคคล กลุ่มนักท่องเที่ยวผจญภัยด้วยจักรยานเสือภูเขา จำนวน 34 คน และจากภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน และคนในชุมชน จำนวน  45 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  

ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวผจญภัยด้วยจักรยานเสือภูเขาประกอบด้วยคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและทัศนียภาพของเส้นทางปั่นและด้านคุณภาพของเส้นทางปั่น 2)จังหวัดราชบุรีมีศักยภาพในการพัฒนาสู่การท่องเที่ยวผจญภัยด้วยจักรยานเสือภูเขาที่ตอบสนองนักปั่นตั้งแต่ระดับมือใหม่จนถึงมืออาชีพ มีทำเลที่ตั้งเหมาะสม มีพื้นที่ปั่นจักรยานและกิจกรรมทางกายอื่น ๆ มีเครือข่ายนักปั่นจักรยานประจำถิ่น และชุมชนให้การต้อนรับด้วยมิตรไมตรี และ 3) รูปแบบของการท่องเที่ยวผจญภัยด้วยจักรยานที่เหมาะสมของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ รูปแบบการท่องเที่ยว “ธรรมชาติ ทุ่งนา ป่าเขา และสนามฝึกจักรยานที่ไม่ไกลจากเมืองกรุง” 

References

สัจจา ไกรศรรัตน์. (2560). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่การเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวเชิงกีฬากรณีศึกษาชุมชนจอมบึง จังหวัดราชบุรี. รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี.
Carrera, P. M., & Bridges, F. P. (2006). Globalization and healthcare: Understanding health care and medical tourism. Expert Review of Pharmacoeconomics and Outcomes Research, 6, 447-454. doi:10.1586/14737167.6.4.447.
Cory K. & Elizabeth A. H. (2014). Sport cycling tourists’ setting preferences, appraisals and attachments, Journal of Sport & Tourism, 19(2), 169-197.
Clifton & Simmons. (2004). Brands and branding. Princeton, NJ: Bloomberg Press.
Hinch, T. and Higham, J. (2004). Sport tourism development Aspects of tourist channel view Publications, Clevedon.
Koepke, J. (2005). Exploring the market potential for Yukon mountain bike tourism. Yukon, Canada.
Leberman, S. & Mason, P. (2000). Mountain biking in the manawatu region: Participants, perceptions, and management dimensions. New Zealand Geographer, 56(1), 30-38.
Lincoin, Y. S. & Guba, E. G. (1985). Naturalistic Inquiry. Beverly Hills, CA: Sage.
Morgan Nigel. (2004). Opinion pieces. Where is place branding heading? Place Branding. 1(1), 12-35.
Morse, J. M. (1994). Designing qualitative research. In N. K. Denzin & Y. S. (Eds.), Handbook of qualitative inquiry (pp.220-235). Thousand Oaks, CA: Sage.
Six Dot Consulting. (2011). Mountain Bike Tourism Potential in Northern Tasmania,
Northern Tasmania Development, Launceston.
Ruff, A., & Mellors, O. (1993). The mountain bike: The dream machine? Landscape Research, 18(2), 104-109.
Taylor, S. (2010). Extending the dream machine: Understanding dedicated participation. In Mountain biking (PhD thesis). New Zealand: University of Otago, Dunedin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23