การจัดการขยะครัวเรือนของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา จันทร์ศิริโพธา
  • วิภวานี เผือกบัวขาว
  • ไพบูลย์ แจ่มพงษ์
  • ฟารีดา ร่มพฤกษ์

คำสำคัญ:

การจัดการขยะครัวเรือน, ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะครัวเรือน, รูปแบบการจัดการขยะครัวเรือน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการจัดการขยะครัวเรือน  2) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะครัวเรือน 3) สร้างรูปแบบการจัดการขยะครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ และ 4) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการขยะครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การวิจัยและพัฒนารูปแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครัวเรือนจากชุมชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี 35 ชุมชน จำนวน 396 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนทั่วไป ผู้บริหารท้องถิ่น นักวิชาการ และนักธุรกิจ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และทดลองใช้รูปแบบการจัดการขยะครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพกับครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 30 ครัวเรือน

ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดการขยะครัวเรือนโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ การลดขยะ การคัดแยก การกักเก็บและการกำจัด 2) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะครัวเรือน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความสำเร็จกับกระบวนการจัดการขยะโดยรวมมีความ สัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านการสนับสนุนจากเครือข่าย ด้านการเสริมพลังการมีส่วนร่วม  ด้านการจัดองค์การและการบริหารองค์การ ด้านภาวะผู้นำและด้านการสื่อสาร 3) รูปแบบการจัดการขยะครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพได้ตัวแบบทางความคิด CLEAN Model ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ การสื่อสาร  (C : Communication) ภาวะผู้นำ ( L : Leadership) การเสริมพลังการมีส่วนร่วม (E : Empowerment Participation) การจัดองค์การและการบริหารองค์การ (A : Administration) และเครือข่าย (N : Network) 4) การทดลองใช้ พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการขยะครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาพรวม มีค่าเท่ากับ 0.84 ซึ่งข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ คู่มือการจัดการขยะครัวเรือน CLEAN Model

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564). กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.
–––––––. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนัก จัดการกากของเสียและสารอันตราย.
–––––––. (2560). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2559. กรุงเทพฯ: บริษัทหัวใหญ่ จำกัด.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง“ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 –2560) มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 20 กันยายน 2559, ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559–2564. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). ศูนย์เรียนรู้ชุมชน..ที่นี่ปลอดขยะ. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมและเผยแพร่.
ณัฐหทัย โภคา. (2559). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 10(2) (พฤษภาคม-สิงหาคม), 21-29.
ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พัฒนา สงวนเจียม. (2560, 30 ตุลาคม). ผู้อำนวยการกองอนามัยและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองราชบุรี. สัมภาษณ์.
พาณิภัค ไพศาลธนสมบัติ. (2560, 30 ตุลาคม). รองปลัดเทศบาลเมืองราชบุรี. สัมภาษณ์.
เรืองฤทธิ์ กิตติวิทยาพงศ์ และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารรณรงค์เพื่อการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบบูรณาการในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยและพัฒนาวลัยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(1) (มกราคม-เมษายน), 133.
วิทยา ยนตร์สันเทียะ. (2557). รูปแบบและวิธีการกำจัดขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบุนมาก อำเภอหนองบุนมาก จังหวัดนครราชสีมา. สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สุขสมาน สังโยคะและคณะ. (2555). การนำร่องการจัดการขยะชุมชนกรณีศึกษา เทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สุริยะ ศรีคลังไพร และคณะ. (2551). การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้องค์กรชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหารูปแบบการจัดการขยะในพื้นที่ ตำบลบ้านกงและตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อรุณี สัณฐิติวณิชย์. (2558). การร่วมกันจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษาเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 6(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม), 22-34.
Christine Cole. (2014). developing sustainable household waste management – A local authority approach to zero waste. A dissertation thesis of the degree Doctor of Engineering, Loughborough University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23

How to Cite

จันทร์ศิริโพธา ส. ., เผือกบัวขาว ว. ., แจ่มพงษ์ ไ. ., & ร่มพฤกษ์ ฟ. . (2019). การจัดการขยะครัวเรือนของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 47–61. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248235