ยุทธศาสตร์การจัดการการท่องเที่ยวในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ผู้แต่ง

  • ดาราวรรณ ญาณะนันท์
  • วิภวานี เผือกบัวขาว
  • วีระชัย คอนจอหอ
  • นรินทร์ สังข์รักษา

คำสำคัญ:

การพัฒนายุทธศาสตร์, การจัดการการท่องเที่ยว, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การท่องเที่ยวในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการท่องเที่ยวในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ 3) ประเมินยุทธศาสตร์การจัดการการท่องเที่ยวในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการวิจัยและพัฒนา และการวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) ร่วมกับการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 15 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินยุทธศาสตร์ฯ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ใช้การเลือกตามเกณฑ์แบบเจาะจง

ผลการวิจัย พบว่า 1) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายแห่งมีศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวและมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งภาครัฐควรกำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้ชัดเจน 2) ยุทธศาสตร์การจัดการการท่องเที่ยวในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 11 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนในการจัดการตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) พัฒนากระบวนการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดคุณค่าอย่างยั่งยืน (3) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สอดรับกับการจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัด และ (4) บริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ตามบริบทของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) ความคิดเห็นที่เป็นคำตอบของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ แต่ละข้อ มีค่ามัธยฐานมากกว่า 3.5 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์มากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 ทุกข้อ การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ถือว่ายุทธศาสตร์ฯ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. พฤศจิกายน. (เอกสารอัดสำเนา).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ประภัสสร มีน้อย. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของภูมิภาคตะวันตกเพื่อรองรับการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัศมี อ่อนปรีดา. (2558). การพัฒนาการทองเที่ยวอยางยั่งยืนของจังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 135-145.
ศราวุธ ผิวแดง. (2558). เอกสารประกอบการสอนเรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. อุดรธานี: คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบุรี. (2560). แหล่งท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้โครงการพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี. [แผ่นพับ]. เพชรบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2552). รายงานการศึกษาเบื้องต้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ The Creative Economy. [เอกสารประชาสัมพันธ์]. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
–––––––. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. [เอกสารประชาสัมพันธ์]. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2559). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2561, จาก http://www.rdpb.go.th/
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี (พ.ศ. 2561-2564). เพชรบุรี: กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา.
สุชน อินทเสม. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์: กรณีศึกษาตำบลปากน้ำปราณ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 7(7), 10-23.
สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่การเป็นศูนย์กลางอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(1), 1-11.
Hemphill, J. K. & Westie, C. M. (1950, April). The measurement of group dimentions. Journal of Psychology. 29(325-42).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23