รูปแบบการพัฒนาผู้นำวิสาหกิจชุมชนด้านอาหารโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • วิภวานี เผือกบัวขาว
  • สาโรช เผือกบัวขาว
  • พนิต ศรีประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการพัฒนาผู้นำวิสาหกิจชุมชนด้านอาหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบุรี และ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาผู้นำวิสาหกิจชุมชนด้านอาหาร โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 375 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 8 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยการพัฒนาผู้นำวิสาหกิจชุมชนด้านอาหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด ได้แก่ ด้านทักษะ รองลงมา คือ ด้านแรงจูงใจ/เจตคติ ด้านความรู้ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง และด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ 2) รูปแบบการพัฒนาผู้นำวิสาหกิจชุมชนด้านอาหาร โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบุรี ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ “2P2MIF Model" ประกอบด้วย P= Production หมายถึง ด้านการผลิต P= Participation หมายถึง ด้านการมีส่วนร่วม M = Marketing หมายถึง ด้านการตลาด M = Management หมายถึง ด้านการบริหารจัดการ I = Information หมายถึง  ด้านข้อมูลข่าวสาร และ F = Financial หมายถึง ด้านการเงิน

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2551). คู่มือการดำเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตามแผนปฏิบัติราชการกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปี 2551. (อัดสำเนา).
คณิดา ไกรสันติ และรัสมนต์ คำศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สุชาวดี ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7, 554 – 566. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ฉัฐสิณี หาญกิตติชัย. (2558). ภาวะผู้นำ ประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชน และตัวแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการประกอบการ. โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการบริหารการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 6, 975-981.
ชญาภัทร์ กี่อาริโย. (2559). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 26(1) 141-152 .
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเพชรบุรี. (2558). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี. (อัดสำเนา).
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2558). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (อัดสำเนา).
สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี ปี พ.ศ. 2561-2564. เพชรบุรี: สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด.
สรายุทธ กันหลง. (2555). การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2561, จาก http://www.ipernity.com/blog/248956/424773.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23

How to Cite

เผือกบัวขาว ว., เผือกบัวขาว ส. ., & ศรีประดิษฐ์ พ. . (2019). รูปแบบการพัฒนาผู้นำวิสาหกิจชุมชนด้านอาหารโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 1–11. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248220