การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ สำหรับครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร / หลักสูตรฝึกอบรม / หลักสูตรฐานสมรรถนะ / ครูปฐมวัย / หน่วยฝึกอบรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม ตลอดจนการศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์และบันทึก และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 179 คน พบว่า 1) ครูปฐมวัยมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 2) ได้หลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหาหลักสูตรอบรม (4) การจัดกิจกรรมอบรม (5) สื่อการเรียนรู้ (6) การวัดและประเมินผล และ(7) การจัดกิจกรรมการอบรมเป็นแบบผสมผสาน ผลการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะมีประสิทธิภาพ 82.75/85.60 ผลการเปรียบเทียบด้านความรู้ของครูปฐมวัยที่ได้รับการอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ3) ครูปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27
References
เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2562). หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วารสารวิชาการ. 22 (1), 22–30.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ. สุวีรยาสาส์น.
รัมภา กุณพันธนาภา และวิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเน้นสมรรถนะการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันที่เน้นการคิดไตร่ตรองสำหรับครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(1), 160-170.
วัฒน์ พลอยศรี. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ดิจิทัล สำหรับพนักงานใหม่ในโรงพิมพ์พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4(1), 234-249.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (2562). ข้อมูลสารสนเทศบุคลากร. พระนครศรีอยุธยา: เอกสารอัดสำเนา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต