มาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน แก้ไข และควบคุม ปัญหามลพิษหมอกควันเมืองเชียงใหม่ : กรณีศึกษามลพิษหมอกควันข้ามแดน
คำสำคัญ:
การบังคับใช้กฎหมาย, ปัญหามลพษหมอกควันเมืองเชียงใหม่, มลพิษหมอกควันข้ามแดนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน แก้ไข และควบคุม ปัญหามลพิษหมอกควันเมืองเชียงใหม่ ในกรณีมลพิษหมอกควันข้ามแดน เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนของกฎหมายไทยในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา สาเหตุ และอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งเพื่อศึกษาหาแนวทางและนำมาเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายในการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผลการศึกษา พบว่า มลพิษหมอกควันข้ามแดนเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่มาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน แก้ไข และควบคุมปัญหามลพิษหมอกควันที่ถูกนำมาบังคับใช้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันสืบเนื่องมาจากการขาดสภาพบังคับระหว่างประเทศ การขาดความร่วมมือระหว่างประเทศ และการขาดมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายในการป้องกัน แก้ไข และควบคุมปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนที่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ในปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนที่เกิดขึ้นได้ จึงควรมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายในกรณีควบคุมมลพิษหมอกควันเป็นการเฉพาะ และเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายต่างๆ เพื่อเป็นส่วนส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายให้มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
กรมส่งเสริมการส่งออก. (2543). มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี, สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.ryt9.com/s/ryt9/248371.
ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน, สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562. จาก https://haze.asean.org/?wpfb_dl=32.
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2560). กฎหมายกับการควบคุมมลภาวะทางอากาศ. กฎหมายสุขภาพและ
สาธารณสุข, 3, 401-424.
ชนพร เมฆไพบูลย์. (2551). มลพิษของหมอกควันจากไฟป่าข้ามแดน : ภายใต้ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษของหมอกควันข้ามแดน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐชยา อุ่นทองดี. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศ จากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ดามร คำไตรย์. (2561). มลพิษหมอกควันข้ามแดนอาเซียนกับการแก้ไขปัญหาด้วยข้อบังคับระดับ ท้องถิ่นไทย, นิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 11,(87-109).
เดือนเด่น นาคสีหราช. (2559). มาตรการทางกฎหมายป่าไม้ของประเทศไทยกับพลวัตแห่ง ภูมิภาคอาเซียนในการร่วมมือกันป้องกันปัญหาหมอกควันข้ามแดนจากไฟป่า, การจัดการ สิ่งแวดล้อม, 12, 98-113.
ประพจน คลายสุบรรณ. (2558). แนวคิด ทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในคดีสิ่งแวดล้อม, วิชาการศาลปกครอง, 7, 11-42.
วรวิสม์ประภา รักเผ่าพันธ์. (2562). มลพิษหมอกควันภาคเหนือ: แก้อย่างไรให้ยั่งยืน, สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/
articles/Pages/Article23Jul2019.aspx.
ศิริชนก วิริยเกื้อกูล. (2559). มลพิษหมอกควันข้ามแดน. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2562, จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2559/hi2559-087.pdf.
อัจฉรีย์ ทิพธนธรณินทร์. (2558). แนวทางการแก้ปัญหาหมอกควันสำหรับจังหวัดเชียงใหม่,การบริหารรัฐกิจและการเมือง, 4, 72-105.
อุดมรัตน์ วัฒนสิทธิ์ และจิรา คงปราณ. (2560). หมอกควันภาคใต้ ภัยร้ายข้ามแดน, การส่งเสริม สุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 40, 20-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต