โครงสร้างและประเภทของพยางค์ของคำในพจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ผู้แต่ง

  • เหมย หาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ซัลมาณ ดาราฉาย

คำสำคัญ:

โครงสร้างพยางค์, ประเภทของพยางค์, คำใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและประเภทของพยางค์ของคำในพจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,634 คำ ที่สุ่มแบบมีระบบจากพจนานุกรม คำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถานทั้งหมด 2 เล่ม และวิเคราะห์ด้วยแนวคิดเรื่อง “โครงสร้างและประเภทของพยางค์” “ประเภทและจุดที่เกิดเสียงพยัญชนะ” และ “ระบบเสียงในภาษาไทย”

ผลการวิจัย พบว่า โครงสร้างและประเภทของพยางค์ของคำจัดกลุ่มตามชนิดของคำประกอบด้วย คำกริยา คำนาม คำวิเศษณ์ ถ้อยคำ คำอุทาน คำลักษณะนาม คำสรรพนาม คำสันธาน คำที่เป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา คำที่เป็นได้ทั้งคำนามและคำวิเศษณ์ และคำที่เป็นได้ทั้งคำกริยาและคำวิเศษณ์ โดยโครงสร้างและประเภทของพยางค์ของคำที่ปรากฏใช้มากที่สุด ได้แก่ คำกริยาในโครงสร้าง “พยางค์ปิด+พยางค์ปิด” ร้อยละ 27.59 และประเภท “พยางค์เป็น+พยางค์เป็น” ร้อยละ 21.11 รองลงมาคือ คำนามในโครงสร้าง “พยางค์ปิด+พยางค์ปิด” ร้อยละ 20.34 และประเภท “พยางค์เป็น+พยางค์เป็น” (20.20) และคำวิเศษณ์ในโครงสร้าง “พยางค์ปิด+พยางค์ปิด” ร้อยละ 34.78 และประเภท “พยางค์เป็น+พยางค์เป็น” ร้อยละ 18.48 ตามลำดับ นอกจากนี้ยัง พบว่า เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ที่ปรากฏมากที่สุด คือ เสียงกัก ร้อยละ 41.00 รองลงมาคือเสียงนาสิก ร้อยละ 39.15 และเสียงเปิด ร้อยละ 19.57 ตามลำดับ

References

ชลธิชา บำรุงรักษ์ และนันทนา รณเกียรติ. (2559). ภาษาคืออะไร ใน ดียู ศรีนราวัฒน์. (บรรณาธิการ). ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันทนา รณเกียรติ. (2555ก). การแสดงเพศภาวะด้วยเสียงในชื่อของคนไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 31(1), 60–80.

นันทนา รณเกียรติ. (2555ข). ทัศนคติการตั้งชื่อเล่นสองพยางค์ของคนไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 31(1), 1-19.

เปรมฤดี เซ่งยี่. (2557). การศึกษาคำศัพท์ในพจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพา ทองสว่าง. (2559). ระบบเสียง ใน ดียู ศรีนราวัฒน์. (บ.ก.). ภาษาและภาษาศาสตร์. 67-85. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2547). ภาพรวมของการศึกษาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชตพล ชัยเกียรติธรรม. (2559). การเปรียบเทียบคำยืมภาษาอังกฤษแบบตัด-เพิ่มเสียงพยางคในภาษาไทยและภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1536), 73-82.

ราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2557). คําศัพท์ใหม่ในภาษาลาว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 10(1), 51-70.

พจนานุกรมคำใหม่ 3 ฉบับสำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2554). กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต.

พจนานุกรมคำใหม่ 1-2 ฉบับสำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2557). กรุงเทพฯ: นามมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2563). ภาษาป้ายชื่อร้านค้าชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตชุมชนเยาวราช: กรณีศึกษาชื่อร้านค้าภาษาจีนและภาษาไทย. มนุษยศาสตร์สาร, 21(1), 55-74.

อนงค์นาฏ นุศาสตร์เลิศ. (2556). การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐานของชุมชนหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่นตามวัจนลีลาและอายุของผู้พูด. วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 15-32.

George Yule. (2017). The Study of Language. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19