การพัฒนาชุดสถานการณ์จำลองระบบเตือนภัยน้ำป่าไหลหลาก
คำสำคัญ:
น้ำป่าไหลหลาก, พื้นที่เสี่ยงภัย, สมาชิก ในชุมชน, ชุดสถานการณ์จำลองระบบเตือนภัยน้ำป่าไหลหลากบทคัดย่อ
น้ำป่าไหลหลากที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นจำนวนมาก โดยการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดสถานการณ์จำลองระบบเตือนภัยน้ำป่าไหลหลากเพื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนในพื้นที่หมู่บ้านเสี่ยงภัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนและชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านห้วยน้ำหนัก ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยและเคยได้รับผลกระทบน้ำป่าไหลหลาก การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ดำเนินการในสภาพแวดล้อมจริง
ผลการศึกษา พบว่า ชุดสถานการณ์จำลองมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์การหาคุณภาพของเมกุยแกนส์ สามารถนำไปใช้ให้ความรู้กับนักเรียนในการป้องกันและบรรเทาก่อนเกิดภัยพิบัติ โดยการให้ความรู้นี้ควรเริ่มจากนักเรียนในโรงเรียน จากนั้นพวกเขาจะส่งต่อไปยังพ่อแม่หรือที่บ้านและขยายไปสู่ชุมชน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักถึงภัยพิบัติ ความพร้อมในการเผชิญหน้ากับอันตราย สามารถป้องกันตัวเองได้อย่างยั้งยืน
References
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์วิจัยน้ำและภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (2557). ความเป็นไปได้และความถี่ของการเกิดอุทกภัย/ดินถล่มจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ/ภาวะโลกร้อน : พื้นที่ศึกษาภาคเหนือ. รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร : 9 มิถุนายน 2557
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). เอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนรุจิรพัฒน์ พุทธศักราช 2555. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนรุจิรพัฒน์. กระทรวง ศึกษาธิการ สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2558, จาก http://rujischool.org.
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี. (2557). ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ: อุทกภัยน้ำป่าไหลหลาก. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. (2528). เทคโนโลยีทางการศึกษา, กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Hosseini, M. & Izadkhah, Y. O. (2006). Earthquake disaster risk management planning in schools. Disaster Prevention and Management, 15(4), 649-661.
IFRC (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies). (2012). Community Early Warning Systems: Guiding Principles, Accessed September 14, 2015. http://www.ifrc.org/PageFiles/103323/1227800-IFRC-CEWS-Guiding-Principles-EN.pdf.
Jones, K. (1986) Games, simulations, Wittgenstein. Simulation / Games for Learning, 16, 2.
Yusuf, A.A. and Francisco, H.A., (2009). Climate Change Vulnerability Mapping for. Southeast Asia. Accessed August 2, 2017. http://www.idrc.ca/sites/default/ files/ sp/Documents%20EN/climate-change-vulnerability-mapping-sa.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต