กระบวนการสะสมทุนเศรษฐกิจของครัวเรือนที่มีการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศจากรุ่นสู่รุ่น

Main Article Content

ภคนันท์ อังกาบ
สุรีย์พร พันพึ่ง

บทคัดย่อ

การส่งเงินกลับของแรงงานย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศถือเป็นผลประโยชน์ทางตรงที่มีความสำคัญต่อครัวเรือนในถิ่นต้นทาง ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการสะสมทุนเศรษฐกิจถึงการวางแผน รวมถึงวิธีการจัดการกับเงินส่งกลับผ่านประสบการณ์ของครัวเรือนที่มีสมาชิกในครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศจากรุ่นสู่รุ่น ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล 33 คน ที่เคยย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ อาศัยในครัวเรือน ที่มีสมาชิกในครัวเรือน 2 รุ่นหรือมากกว่า ที่มีประสบการณ์ย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ ในจังหวัดหนองคาย ระหว่าง มกราคม - มีนาคม 2563 จากวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า การย้ายถิ่นของสมาชิกในครัวเรือนรุ่นแรกที่ไม่สามารถสะสมทุนเศรษฐกิจได้ เป็นผลมาจากในอดีตมีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินจำนวนมาก เงินส่งกลับจึงนำมาใช้หนี้จนหมดทำให้ไม่สามารถวางแผนนำไปลงทุนเพิ่มได้ แต่การย้ายถิ่นของสมาชิกในครัวเรือนรุ่นปัจจุบันมีรายได้และมีทางเลือกอาชีพมากกว่า ทำให้ปัจจุบันครัวเรือนสามารถสะสมทุนเศรษฐกิจได้มากขึ้น โดยมีแรงงานที่เคยย้ายถิ่นในครัวเรือนต้นทางเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารเงินส่งกลับ มีการนำเงินส่งกลับมาแปรเป็นทุน ด้วยการนำมาลงทุนให้เกิดอาชีพและรายได้ให้กับสมาชิกในครัวเรือน อย่างไรก็ดี ยังมีบางครัวเรือนที่ไม่สามารถพูดคุย สื่อสาร หรือวางแผนการนำเงินส่งกลับ มาแปลงเป็นการสะสมทุนได้ ดังนั้นเพื่อให้มีการจัดการกับการสะสมทุนเศรษฐกิจจากเงินส่งกลับนี้ให้มีประสิทธิภาพ จึงควรสนับสนุนให้มีการให้ความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะอาชีพทางเลือกในการสร้างอาชีพด้านการเกษตร โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตเพื่อเป็นแนวทางให้ครัวเรือนได้ความรู้และนำไปปรับใช้ให้เกิดการสะสมทุนเศรษฐกิจได้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์ การเมืองกับการ
สื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และแครี่ ริคเตอร์. (2554). เพศภาวะและการย้ายถิ่น. ใน เจอร์รูด ดับเบิ้ล ฮักเกรช และ
อภิชาต จำรัสฤทธิรงค์ (บรรณาธิการ). รายงานการย้ายถิ่นของประเทศไทย พ.ศ. 2554. (หน้า 132-138).
นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
กาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2560). ครัวเรือนข้ามรุ่น รูปแบบครอบครัวที่กำลังมาแรงในสังคมไทย พ่อแม่ไม่อยู่ อยู่กับตา
ยาย อยู่กับปู่ย่าเน้อ. เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2562, จาก http://www.newsletter.ipsr.mahidol
กิริยา กุลกลการ.(2559). ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ กรณีศึกษา
ไต้หวัน. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก
. (2562).แรงงานไทยผิดกฎหมายในสาธารณรัฐเกาหลี :สาเหตุและแนวทางแก้ไข.วารสารสถาบัน
เสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 14(1),105-121.
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน .(2561).จำนวนคนหางานที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไป
ทำงานต่างประเทศจำแนกตามภูมิลำเนา ประเทศ และวิธีการเดินทาง ประจำปี 2561. เข้าถึงเมื่อวันที่ 30
สิงหาคม 2562 , จากhttps://www.doe.go.th
ขวัญนคร สอนหมั่น และอภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์. (2556). ปัจจัยการย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
และความสัมพันธ์กับเครือญาติของแรงงานไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์,
2(2), 167- 180
ชไมพร รุ่งฤกษ์ฤทธิ์ วิภาดา สุวรรณประภา และสุชาดา สนามชวด. (2551). ความคุ้มค่าของการส่งแรงงานไทยไป
ต่างประเทศ. วารสารวิจัยทรัพยากรมนุษย์, 3 (2), 49-65.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ดุษฎี อายุวัฒน์ อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ สุกัญญา เอมอิ่มธรรม อุดมลักษณ์ บำรุงญาติ ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ ขวัญนคร สอนหมั่น วณิชชา ณรงค์ชัย. (2554). การพัฒนาศักยภาพแรงงานแบบบูรณาการก่อนการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ ปี 2554 “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”.(403-408)
ดุษฎี อายุวัฒน์ และภัทระ แสนไชยสุริยา. (2549). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ : กรณีศึกษาแรงงานย้ายถิ่น. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ปั้น วรรณพินิจ. (2545). รายงานการวิจัย สถานการณ์แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศกับความมั่นคงทาง
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2552). การเลื่อนสภาพทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์, 17(2), 70-110.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562ก). เครื่องชี้สถานการณ์ด้านแรงงาน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=111&language=TH
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562ข). ดุลการชำระเงิน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562, จาdhttps://
www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=646&language=TH
บุญคง หันจางสิทธิ์. (2549). เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชราวลัย วงศ์บุญสิน. (2553). การย้ายถิ่น: ทฤษฎีและความเป็นไปในเอเชีย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รีนา ต๊ะดี. (2559). แรงงานไทยในเกาหลีใต้: ปัญหาและอุปสรรค ของการเข้าถึงความช่วยเหลือจากหน่วยงาน
ภาครัฐ และเอกชนของไทยและเกาหลีใต้.ประชากรและสังคม 2559 ประเทศไทยกับศตวรรษแห่งการย้าย
ถิ่นแห่งชาติ. สุรีย์พร พันพึ่ง,จรัมพร โห้ลำยอง ,และศุทธิดา ชวนวัน บรรณาธิการ.พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม:
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วาทินี บุญชะลักษี.(บรรณาธิการ). (2540). รายงานการวิจัยเรื่องการติดตามผู้ย้ายถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การย้ายถิ่นเป็นการเพิ่มรายได้ หรือเพิ่มความเครียดให้ครอบครัวชนบท. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมาน เหล่าดำรงชัย. (2559). การบริหารจัดการแรงงานไทยย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศในศตวรรษที่ 21 .
กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สร้อยบุญ ทรายทอง. (2561). การสะสมทุนของผู้หญิงย้ายถิ่นกับการเลื่อนอาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญา
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานจังหวัดหนองคาย. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ.2561-2564. เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม
2562, จาก http://202.28.118.8/nk2015/web/document/index?id=20.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2549). ทุนทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562, จาก http://www.nesdb.go.th/download/plan10/2_1.pdf
สุภางค์ จันทวานิช. (2544) . ตลาดแรงงานไทยในเอเชียตะวันออกและเอเซียตะวันออกเฉียงได้กับ ผลกระทบ
จากเศรษฐกิจถดถอยในปลายศตวรรษที่ 90, รายงานผลสังเคราะห์, ศูนย์วิจัยการอพยพย้ายถิ่นแห่งเอเชียสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2554). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารี จำปากลาย, ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, และอาซิส ประสิทธิหิมะ. (2554). การย้ายถิ่นของแรงงานกับผลกระทบ
ต่อครอบครัวและเด็กในสังคมอาเซียน:ประชากรและสังคมในอาเซียน ความท้าทายและโอกาส
สิ่งที่ได้กับสิ่งที่ต้องสูญเสีย โครงการ CHAMPSEA ประเทศไทย:รายงานเบื้องต้นสำหรับพื้นที่ศึกษาลำปางนครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
อารี จำปากลาย, ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, แครี่ ริคเตอร์, นิพัทธ์ พ้นภัย และชาริต้า ประสิทธิหิมะ. (2556). ลูกๆ เป็นอย่างไรเมื่อพ่อแม่ย้ายถิ่นโครงการ CLAIM. นครปฐม:สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
Becker, G.S. (1964). Human Capital. New York: Columbia University Press.
Bourdieu, P. (1986). The Forms of Capital, In Handbook of Theory and Research for the
Sociology of Education. Richardson J.G. (ed.). New York: Greenwood Press.
Jampaklay, A. and Kittisuksathi, S. (2009), Migrant workers’ remittances: Cambodia,Lao PDR and Myanmar. ILO/Japan Project on Managing Cross-border Movement of Labour in Southeast Asia. Bangkok: ILO Regional Office for Asia and the Pacific.
Kaminer, M. (2015) A long way from home – Isaan villagers’ experience of farmwork in Israel. Retrieved 15 August 2019, from https://www.academia.edu/30326862/A_long_way_
from_home_Isaan_villagers_experience_of_farmwork_in_Israel
Stark, O. and Bloom, D. (1985). The new economics of labor migration. American Economic Review, 75(2), 173-178.
Stark, O. (1991). The Migration of Labor. Cambridge: Basil Backwell.
Taylor, J.E. (1999). The new economics of labor migration and the role of remittances in the migration process. International Migration, 37(1), 63-88.
Osaki, K. (2003). Migrant Remittances in Thailand: Economic Necessity or Social Norm? Journal of Population Research 20(2), 203–222.