การศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจที่จะนำ อัตมโนทัศน์และลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย

Main Article Content

ปุณณดา จงอริยตระกูล
วนิดา พลเดช

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจที่จะนำ อัตมโนทัศน์ และลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย เพื่อให้ทราบถึงแรงจูงใจที่จะนำ และอัตมโนทัศน์ ที่ส่งผลต่อลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย โดยมุ่งศึกษาแนวทางในการพัฒนาผู้บริหารสตรีให้มีลักษณะภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ออกแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สเตพไวส์ มัลติเพิล รีเกรสชั่น ผลการวิจัยในผู้บริหารสตรีภาครัฐ พบว่า แรงจูงใจที่จะนำด้านรักที่จะนำเพื่อความผูกพันทางใจ ส่งผลต่ออัตมโนทัศน์ด้านทัศนคติที่มีต่อตนเอง และอัตมโนทัศน์ด้านทัศนคติที่มีต่อตนเองส่งผลต่อลักษณะภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลการวิจัยในผู้บริหารสตรีภาคเอกชน พบว่า แรงจูงใจที่จะนำด้านรักที่จะนำเพื่อความผูกพันทางใจ ส่งผลต่ออัตมโนทัศน์ด้านทัศนคติที่มีต่อตนเองและด้านภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ซึ่งอัตมโนทัศน์ทั้ง 2 ด้าน ส่งผลต่อลักษณะภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการวิจัยสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางให้สตรีในตำแหน่งบริหารทุกระดับ นำผลจากการวิจัยไปใช้ในการปรับแรงจูงใจที่จะนำ อัตมโนทัศน์ และลักษณะภาวะผู้นำของตนเอง เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเพื่อเข้าสู่การเป็นผู้นำสตรีที่ประสบความสำเร็จได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรนุช สุมขุนทด. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาหญิงและเจคติของพนักงานต่อผู้บังคับบัญชาหญิงที่พยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ปองฤทัย วิจิตรโท. (2553). ทัศนคติของพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีต่อหัวหน้างานที่เป็นผู้หญิง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พสุ เดชะรินทร์. (2555). แนวคิดการบริหาร. หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์.

พิรญาณ์ บุญญสถิต. (2552). ทัศนคติของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชาที่เป็นสตรี. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภคพร ภู่ไพบูลย์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความพึงพอใจในงาน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แรงจูงใจที่จะนำ และการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาหลักสูตรภาคพิเศษ. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศาลิตา ทับพุ่ม. (2550). เงื่อนไขและปัจจัยที่เอื้อและไม่เอื้อต่อการพัฒนาภาวะผู้นำในสตรี กรณีศึกษากลุ่มอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านละหอกกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สวรุส นภวงศ์ ณ อยุธยา. (2547). การทำนายผลการปฏิบัติงานของผู้ตามโดยการประเมินความเป็นผู้นำนักปฏิรูปและความเป็นผู้นำนักแลกเปลี่ยน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวลักษณ์ โสมะทัต. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารีย์ กองแก้ว. (2555). การรับรู้และความคาดหวังของครูผู้สอนต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา.เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

Alice H. Eagly, Mary C. Johannesen-Schmidt & Marloes L. van Engen. (2000). Transformational, Transactional, and Laissez-Faire Leadership Styles : A Meta-Analysis Comparing Women and Men. Journal of Applied Psychology Vol. 129, No. 4, 569–591.

Ashley A. Miller. (2011). Examining the effects of leadership style on the follower's self-concept. East Carolina : East Carolina University.

Bass B. M. (1985). Leadership and Performance. New York : Free Press.

Bower M. (1966). The Will to Manage. New York : McGraw-Hill.

Burns J. M. (1978). Leadership. New York : Harper & Row.

Burns R. B. (1979). The self-concept : Theory, measurement, development and behavior. New York : Longman.

Chan K. & Drasgow F. (2003). Toward a theory of individual differences and leadership : Understanding the motivation to lead. Journal of Applied Psychology, 481-498.

Cochran W. (1977). Sampling Techniques 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Combs A. W. & Snygg D. (1959). Individual behavior. New Yirk : Harper and Row.

Dong Fang Wang. (2010). The Correlation of Ledership Style to Leader Self-Concept. Arizona : Univercity of Phoenix.

Kotter J. P. (1990). A Force for Change: How Leadership Differs from Management. New York : Free Press.

Lussier R. N. & Achua C. F. (2007). Effective Leadership. Ohio : Thomson.

McClelland D. C. (1961). The Achieving Society. Princeton: N.J. Van Nostrand.

McClelland D. C. & Boyatzis R. (1982). Leadership motive pattern and long-term success in Management. Journal of Applied Psychology, 67, 737-743.

Miner J. B. (1978). Twenty years of research on role motivation theory of managerial effectiveness : Personnel Psychology. New York : McGraw-Hill.

Rogers C. R. (1951). Client-centered therapy. Boston : Haughton Mifflin.

Spencer L. M. & Spencer S. M. (1993). Competence at work : Models for superior performance. New York : John Wiley & Sons, Inc.

The Grant Thornton International Business. (2013). More women making it into senior management roles - but mature economies lagging behind. Retrieved 24 February 2014, from http://www.internationalbusinessreport.com/press-room/2013/women.asp.

Wanida Phondej. (2010). The Conditions and Factors Associated with Successful Female Leadership in Thailand : a Conceptual Framework. The Conditions and Factors Associated with Successful. Dhurakijpundit University, DPU International College, Thailand, Volume 11, Issue 1, March 2010.

Wylie R. C. (1961). The self-concept: A critical survey of pertinent research literature. Lincoln, NE : University of Nebraska Press.