ปัญหาและทางออกด้านการบริหารแรงงานของซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สัญชาติไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์

Main Article Content

ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารแรงงานของซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สัญชาติไทย ด้วยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนซัพพลายเออร์ฯ และหน่วยงานภาครัฐ รวม 31 คน และการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลแรงงาน 425 คน ผลการวิจัยพบว่า ซัพพลายเออร์มีปัญหาการจ้างงาน คือ ความไม่พอเพียงด้านปริมาณและด้านคุณภาพแรงงาน และมีปัญหาการบริหารแรงงานภายในสถานประกอบ  4 ด้าน คือด้านการสรรหาคัดเลือกพบปัญหาการลาออก  ความไม่ต่อเนื่องในการพัฒนาทักษะ  ปัญหาค่าใช้จ่ายและความล่าช้าของภาครัฐในกระบวนการจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย ด้านการบริหารค่าตอบแทน ไม่พบปัญหาที่ชัดเจน แต่พบว่าจัดสวัสดิการให้คนงานน้อยเกินไป ด้านการพัฒนาทักษะพบปัญหาคนงานมักลาออกหลังจากที่ได้รับการพัฒนาทักษะแล้วและปัญหาคนงานไทยไม่ค่อยอยากได้รับการพัฒนา ด้านการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและแรงงานพบว่าไม่มีปัญหาที่เด่นชัด การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างกันใช้วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติ สำหรับความคิดเห็นของแรงงานต่อการบริหารแรงงานพบว่าอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแรงงานเห็นด้วยมากต่อด้านการพัฒนาทักษะ ในขณะเห็นด้วยปานกลาง 3 ด้านเรียงลำดับ คือ ด้านค่าตอบแทน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและแรงงาน และด้านการสรรหาคัดเลือกอยู่ในลำดับสุดท้าย             งานวิจัยนี้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารแรงงานโดยแยกเป็นบทบาทของสถานประกอบการและบทบาทรัฐ สำหรับสถานประกอบการสามารถนำข้อค้นพบจากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น ปัญหาการขาดแคลนปริมาณแรงงาน แก้ไขโดยจ้างแรงงานต่างด้าวหรือใช้เทคโนโลยีมาทดแทน ปัญหาคุณภาพแรงงาน แก้ไขโดยใช้การฝึกอบรมแบบเน้นการปฏิบัติจริง (OJT) การแก้ไขปัญหาการบริหารแรงงานหลังการจ้างงาน อาศัยการใช้นวัตกรรมในวิธีการการบริหารแรงงาน เช่น ใช้ค่าตอบแทนประเภทต่างๆ เพื่อจูงใจให้คนงานไม่ลาออก เช่น การจ่ายโบนัสถี่มากกว่าปีละ 2 ครั้ง การจ่ายโบนัสตามอายุงานมากกว่าจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น ในขณะที่รัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องต่อการบริหารแรงงานโดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น แรงงานกลุ่มที่ผลิตอุปกรณ์ท่อไอเสียจะเตรียมทักษะอย่างไรเพื่อรองรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ไม่มีระบบไอเสียแล้ว นอกจากนั้นควรเน้นสหกิจศึกษาให้มากขึ้นเพื่อให้แรงงานมีทักษะที่พร้อมปฏิบัติงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา สำหรับแรงงานต่างด้าวเสนอว่าในระยะสั้นขณะที่แรงงานไทยยังมีสมรรถนะไม่สูงและสถานประกอบการยังไม่ปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี ภาครัฐยังจำเป็นต้องพัฒนาทักษะของแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สัญชาติไทยที่จ้างแรงงานต่าวด้าวสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, สำนักแรงงานสัมพันธ์. (2549). รายงานการสำรวจกรอบสภาพการจ้างตามประเภทกิจการ: เฉพาะการผลิตยานยนต์และที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

จารุพร มณฑาพงศ์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด(ระยอง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะการจัดการและการท่องเที่ยว, สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์.

ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ. (2560). ปัญหาและทางออกด้านการบริหารแรงงานของซัพพลายเออร์ไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์. โครงการ ASEAN watch สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

นิตย์ จันทรมังคละศรี และคณะ. (2538). ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขัน. รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, ฝ่ายวิจัยการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

พีระ เจริญพร. (มีนาคม 2553). การแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นซัพพลายเออร์ของบริษัทข้ามชาติ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 28 (1) : 35-83.

พงศ์พันธ์ ตั้งกิจ. (2549). การศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบการผลิต.ชิ้นส่วนยานยนต์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, พระจอมเกล้าธนบุรีสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ.

ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด, และ เกรียงไกร เตชกานนท์. (2558). Intra industry trade,Product Fragmentation and Technological Capability Development in Thai Automotive Industry. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 จาก, http://www.eria.org/ERIA-DP-2015-10.pdf

วิระศักดิ์ สาระรัตน์ และคณะ. (2548). โครงการสำรวจข้อมูลฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.

ศุภชาญ อรัญสวรรค์. (2542). ความพึงพอใจในสวัสดิการของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันยานยนต์. (2555). แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ปี2555-2559. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

สถาบันยานยนต์. (2557). ข้อมูลผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ปี2557. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง. (เอกสารอัดสำเนา).

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2559). ปี2558 ผลิตรถยนต์1,913,002 คัน ต่ำกว่าเป้าแต่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 1.76 ขายในประเทศ799,592 คัน ตามเป้า ส่งออก1,204,895 คัน ตามเป้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559, จาก http://www.acarnewsonline.com/carbusiness/tficarreport.

สิทธิพร เจริญสิทธิกุล. (2546). แรงงานสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจในวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีสหภาพแรงงาน ศึกษากรณีบริษัท ไทยฮอนด้า เมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์.

สมชาย หาญหิรัญ. (2557). แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในปี2557-2560. เอกสารการประชุม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

สุจิตราภรณ์ คำสอาด. (2540). การส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงานในสถานประกอบการขนาดกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, หลักสูตรพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ
มหาบัณฑิต.

ศุภชาญ อรัญสวรรค์. (2542). ความพึงพอใจในสวัสดิการของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อาชนัน เกาะไพบูลย์. (2552). Global Integration of Thai Automotive Industry. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะเศรษฐศาสตร์.

อุษณีย์ เหมแหวน. (2543). ความรู้สึกมั่นคงในการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตอุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์น : ศึกษากรณีบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาประชากรศึกษา.

Thammavit Terdudomtham. (1997). The Automobile Industry in Thailand. Bangkok: Thailand Development Research Institute.

World Motor Vehicle Production. (2015). 2015 Production Statistics. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559, จาก http://www.oica.net/category/production-statistics/