สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ

Main Article Content

ฉัตรชัย หวังมีจงมี
องอาจ นัยพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน 2.เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะของครูผู้สอนระดับการศึกษา        ขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ผู้วิจัยใช้แนวทางการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 รวม 6 คน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นตรงกันว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานบางคน ยังไม่สามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์แบบอุปนัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ปัญหาของครูผู้สอนในปัจจุบัน มี 2 ประการ คือ 1.ครูยังคงใช้รูปแบบการสอนแบบดั้งเดิม และ 2.ครูผู้สอนขาดจิตวิญญาณในความเป็นครู สำหรับสมรรถนะของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 มี 7 สมรรถนะ คือ 1.สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 2.สมรรถนะด้านการวัดประเมินผลเพื่อการพัฒนาและคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายระหว่างบุคคล 3.สมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี และการรู้เท่าทันสื่อ 4.สมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ 5.สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 6.สมรรถนะด้านการข้ามวัฒนธรรม 7.สมรรถนะด้านการเป็นผู้อำนวยความสะดวกและแนะแนวทาง ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปใช้ในการวางแผนการผลิตและพัฒนาครูผู้สอนเพื่อให้ครูผู้สอนมีสมรรถนะที่เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กรอบสมรรถนะของครูแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน
2556 จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=13037&%20Key=news2

โครงการการพัฒนาชุมชนครูผู้เรียนรู้บนฐานนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางการศึกษา. (2557). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ.
สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2559 จาก http://www.teachersaslearners.com/front/blog_one/88

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม และคณะ. (2554). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาแนวโน้มคุณลักษณะของครูไทยใน
ทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2562). การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 24
มิถุนายน 2556 จาก htpp://www.ksp.or.th/ksp2009/upload/ksp_kuru_research/files/2223-4625.pdf

ณิชาภา จันทร์เพ็ญ. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้และแบบวัดสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครู : การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยน
ของการวัดตามภูมิหลังของครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา An Online Journal of Education, 8 (1), 1151-1165.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (ม.ป.ป.). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า : ตอนรูปแบบและทฤษฎีการเรียนรู้อนาคต. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน
2559 จาก http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal/50-51/next-generation%20of%20learning.pdf

ธวชินี โรจนาวี. (2544). เส้นทางการเป็นครูแห่งชาติ : การวิจัยพหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุริม โอทกานนท์ และคณะ. (2550). กระแสของการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2559 จาก http://www.oknation.
net/blog/jazz-zie/2007/10/12/entry-31

บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์. (ม.ป.ป.). แนวคิด หลักการ ของการประเมินเพื่อการพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2559 จาก http://
hpc13.anamai.moph.go.th/download/document/hospital_dental/แนวคิด_หลักการ_ของการประเมินเพื่อ
การพัฒนา.pdf

พรศิริ เทียนอุดม. (2546). ปัจจัยส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูต้นแบบ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต.
กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

_______. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกำมาจล.

_______. (2558). การวัดผลประเมินผลแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2559 จาก https://www.gotoknow.org/
posts/589130

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2559 จาก http://www.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). กฎหมายและหนังสือเวียนของ ก.ค.ศ. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รวมกฎหมายสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : สกสค.

สำนักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). ยุทธการเปลี่ยน ‘ครูเฉย’ สู่ครูยุคศตวรรษที่ 21 สืบค้นเมื่อ
12 สิงหาคม 2559 จาก http://seminar.qlf.or.th/Seminar/Topic/29

องอาจ นัยพัฒน์. (2551). การออกแบบการวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2558). ข้อได้เปรียบเชิงความสัมพันธ์ระหว่าง มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบ TQF กับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ
ที่ 21 และการวัดประเมินผู้เรียนในโลกยุคใหม่ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2559 จาก http://
academic.swu.ac.th/LinkClick.aspx?fileticket=9iKWLnpqp1k%3D&tabid=7316&portalid=43&mid=19139

Department of Education and Training, Queensland Government. (2015). Quality of a Good Teacher. Retrieved
August, 15, 2016, from http://education.qld.gov.au/hr/recruitment/teaching/qualities-good-teacher.html

Ketevan Kobalia & Elza Garakanidze. (2010). The Professional Competencies of The 21st Century School Teacher.
Problems of education in the 21st century, (2010) 20, 104-108.

Liang et al. (2005). Are Teachers in China Ready to Teach in the 21st Century? Journal of Technology and Teacher
Education, (2005) 13 (2), 197-209.