ผู้ส่งเสริมการเรียนรู้: บทบาทในการสร้างเสริมการเรียนรู้องค์การภาครัฐ

Main Article Content

พงศ์ศิริ สุขประวิทย์
มณฑล สรไกรกิติกูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้บทบาทของผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ (LO Agent) ขององค์การภาครัฐ ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ที่องค์การได้จัดตั้งขึ้น เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ (LO Agent) จำนวน 10 ท่าน รวมทั้งรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ภายในองค์การ เช่น คำสั่ง ประกาศ คู่มือการปฏิบัติงาน รายงานต่าง ๆ นำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ร่วมกัน 

          ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ (LO Agent) สามารถสรุปได้เป็น 6 บทบาท โดยมี 4 บทบาทที่สอดคล้องกับบทบาทของ Facilitator ในระดับกลุ่ม ได้แก่ บทบาทตัวกลางผู้ประสานงาน, บทบาทผู้กระตุ้นเร่งเร้า, บทบาทนักประชาสัมพันธ์ และบทบาทการเป็นผู้อำนวยให้เกิดการเรียนรู้ สำหรับบริบทขององค์การภาครัฐมีการค้นพบเพิ่มเติมอีก 2 บทบาท ได้แก่ บทบาทของการเป็นจิตอาสา และบทบาทในการติดตามการดำเนินงาน ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการทำงานภาครัฐ กำหนดให้ตำแหน่งผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ (LO Agent) เป็นสายงานสนับสนุน โดยอาศัยความเสียสละของพนักงานในการให้ความร่วมมือทำหน้าที่ดังกล่าว จึงเกิดเป็นที่มาของจิตอาสา ส่วนบทบาทการติดตามผลการดำเนินงานมาจากการทำงานที่ยึดติดขั้นตอน ที่ต้องรายงานให้กับผู้บังคับบัญชารับทราบอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวง
วัฒนธรรม. (2551). คู่มือวิทยากรกระบวนการ ค่านิยมที่พึงประสงค์ สำหรับชุมชน/หมู่บ้าน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, สำนักงาน. ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (เกณฑ์วิธีการประเมิน). สืบค้นจาก http://
www.sepo.go.th/tinymce/plugins/filemanager/thumbs/SEPA/เอกสารเผยแพร่/1.pdf

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงาน. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก http://www.
opdc.go.th/uploads/files/2557/2.1.pdf

ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2545). วิทยากรกระบวนการ : พัฒนาสุขภาวะชุมชน. เชียงใหม่ : วนิตาการพิมพ์.

ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2516). สารานุกรมศัพท์ทางสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : แพร่วิทยา.

มงคลชัย วิริยะพินิจ และ พสุ เดชะรินทร์ (2551). Transforming the Organizations in Thai Public Sector into Learning
Organizations : An Explanatory Case Study Research. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 117-118, 58 - 72. (in Thai)

ระบิล พ้นภัย, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข (2559). ความสามารถในการแบ่งปันความรู้และผลการดำเนินงาน
ของธนาคารพาณิชย์ไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 147, 25 - 63.

วีระชัย คล้ายทอง. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร : ก. พล (1996).

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. (2545). การพัฒนาโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน
จำกัด สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Biddle, B.J. (1986). Recent Development in Role Theory. Annual Review of Sociology, 12, 67-92

Braun, V & Clake, V. (2006). Using Thematic Analysis in Psychology. Qualitative Research in Psychology 2016, 3,
77-101.

Broom, L, and Selnick, P. (1977). Sociology. NewYork : Harper & Row, 34 - 35.

CANIA, L. (2014). The Impact of Strategic Human Resource Management on Organizational Performance. Economia
Seria Management, 17 (2), 373-383.

Cohen, B J. (1979). Introduction to Sociology. New York : McGraw-Hill.

Farazmand, A. (1999). Globalization and Public Administration. Public Administration Review, 59 (6), 509-522.

Farazmand, A. (2015). Governance in the Age of Globalization : Challenges and Opportunities for South and
Southeast Asia. Springer International Publishing Switzerland, (11) DOI 10.1007/978-3-319-15218-9_2

Garavan, T.N. (1997). Training, development, education and learning : different or the same?, Journal of European
Industrial Training, 21 (2), 39-50.

Gordon, A. (1937). Personality : A psychological interpretation. New York : Holt, Rinehart, & Winston.

Green, B. C., & Chalip, L. (2004). Paths to volunteer commitment : Lessons from the Sydney Olympic Games.
Volunteering as leisure/leisure as volunteering : An international assessment, 49-67.

Haivas, S., Hofmans, J., & Pepermans, R. (2013). Volunteer engagement and intention to quit from a self-determination
theory perspective. Journal of Applied Social Psychology, 43 (9), 1869-1880.

Lombardo, M.M., and Eichinger, R.W., (2001). High Potentials as High Learners. Human Resource Management
Winter, 39 (4), 321-330.

Mead, G. H. (1934). Mind, Self and Society. Chicago : Univ. Chicago Press.

Pedler, M. (1996). Action Learning for Managers. Lemons and Crean Publishing.

Robert M. Fulmer, (1994). A model for changing the way organizations learn. Planning Review, 22, 20-24.

Tett, R.P. & Meyer, J.P. (1993). Job Saticfaction, Organizational Commitment, Turnover Intention, and Turnover :
Path Analysis Based on Meta-Analysis Findings. Personnel Psychology, 46, 259-293.

Yeasmin, S. & Rahman, K. F. (2012). Triangulation' Research Method as the Tool of Social Science Research.
BUP Journal, 1 (1), 154-163.