การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงของแรงงานต่างเจนเนอเรชั่นในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร

Main Article Content

นราเขต ยิ้มสุข
อุไรวรรณ รุ่งไหรัญ

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงของแรงงานต่างเจนเนอเรชั่นในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของแรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม นวนครต่างเจนเนอเรชั่น บี เอ็กซ์ และวายต่อพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียง การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียง ใช้ F-test ทดสอบสมมติฐาน

            ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.70  ส่วนใหญ่เป็นเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ ร้อยละ 43.00 รองลงมา ได้แก่ เจนเนอเรชั่นวาย ร้อยละ 36.50 และเจนเนอเรชั่นบี ร้อยละ 21.50 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 54.20 กิจกรรมยามว่างของเจนเนอเรชั่นบีและเอ็กซ์ส่วนใหญ่ คือ ดูโทรทัศน์ อยู่บ้านนอนพักผ่อน ร้อยละ 80.23 และ 52.15 ตามลำดับ ส่วนเจนเนอเรชั่นวายส่วนใหญ่มีกิจกรรมยามว่าง คือ ดูหนัง ฟังเพลง ร้อยละ 58.22 

            ระดับพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงของแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนวนครอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ไม่ตามกระแส มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ  การรู้คุณค่าทรัพย์สิน และจากผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนวนครที่มีเจอเนอเรชั่นแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงแตกต่างกัน โดยที่เจนเนอเรชั่นบี มีพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงมากกว่าเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย ดังนั้น ผู้ควบคุมนโยบายภาครัฐควรส่งเสริมให้มีการผลิต เนื้อหาที่บรรจุหลักเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบที่หลากหลาย สามารถนําเสนอให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย และชวนให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อโทรทัศน์ อีกทั้ง ฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์การควรดําเนินการจัดกิจกรรม การรณรงค์ พร้อมทั้งการสร้างต้นแบบบุคลากรด้านการพอเพียงเพื่อเป็นปัจจัยกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติตาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.). (2551). พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร
รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าทูลละออง
ธุลีพระบาท ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ใน พระบรมราโชวาทและกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดช. กรุงเทพมหานคร: รำไทยเพรส.

กิ่งอ้อ มะลินิล. (2552). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการประหยัดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขา
วิชาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์.

โครงการสุขภาพคนไทย. (2559). เจนเนอเรชั่นในประเทศไทย. สุขภาพคนไทย 2559. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและ
สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

จุฑามาศ แก้วพิจิตร. (2552). ภาวะหนี้สิน ระดับความเครียด ความสุข และบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโรงงาน
อุตสาหกรรม. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 49 (3), 251-274.

จิรประภา อัครบวร. (2553). ทัศนคติของคน 3 generation กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในมิติ 3R : กรณีศึกษาองค์กรภาครัฐ
องค์กรรัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชน. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.

ญาดา สามารถ. (2558). รูปแบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวาย.
วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี,
สาขาบริหารธุรกิจ.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการทำงาน : มุมมองระหว่าง
เจนเนอเรชั่นต่างๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 31 (121), 1 - 25.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2551). เจนเนอเรชั่นวายกับความท้าทายใหม่ในการบริหารทรัพยากรบุคคล. จุฬาลงกรณ์วารสาร,
20 (80), 32-52.

ทัศนี ศรีกิตติศักดิ์. (2554). เจนเนอเรชั่นในองค์กร บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และปัจจัยจูงใจในการทำงาน : กรณีศึกษา
พนักงานบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง. งานวิจัยส่วนบุคคลของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะศิลปศาสตร์, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.

ธงชัย สันติวงษ์. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : ประชุมช่าง.

ธรรมรัตน์ อยู่พรต. (2556). ค่านิยมในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของเจนเนอเรชั่นต่างๆ.
วารสารบริหารธุรกิจ, 36 (138), 40-62

นราเขต ยิ้มสุข. (2557). การพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอย่างพอเพียงของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย. (วิทยานิพนธ์
ดุษฎีนิพนธ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม
และองค์การ.

นพพร จันทรนำชู. (2544). สังคมบริโภคนิยม : ปัญหา ทฤษฎีและทางออก, วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 19 (1), 18-26.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2552). แบบร่างสร้างคนคุณภาพ...แบบพอเพียง. ใน จงกลนี สายะบุตร (บรรณาธิการ), การบริหาร
ทรัพยากรบุคคลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย.

พรชนก ทองลาด. (2553). แนวคิดทางการวิจัยพฤติกรรมการบริหารการเงินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ประกอบการ.
ลำปาง : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

พระไพศาล วิสาโล. (2545). เส้นโค้งแห่งความสุข สดับทุกข์บริโภคนิยม. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

พิชัย วาศนาส่ง. (2549). โลกาภิวัตน์ : หมุนตามโลก สารพันสาระที่ควรรู้ เพื่อทันกระแสโลก. กรุงเทพฯ: ปาเจรา.

พัชรา โพธิ์ไพฑูรย์ และคณะ. (2559) ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์กรในเรื่องค่านิยมในการทำงานที่มีผลต่อทัศนคติ
ในการทำงานของเจนเนอเรชั่นต่างๆ ในองค์กร, จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38 (147), 107-137.

มัทนี วิเศษสุข. (2550). การศึกษาพฤติกรรมบริโภคตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพุทธศาสนิกชนในเขตกรุงเทพมหานคร.
(ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.

ระวีวรรณ ธรณี และคณะ. (2551). ชีวิตที่พอเพียงในมุมมองของนักศึกษาภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, คณะศิลปศาสตร์.

เรวดี วงษ์วัฒนะ. (2557). รูปแบบการดำเนินชีวิตของเจนเนอเรชั่นบีในจังหวัดนครสวรรค์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัชฎา อธิสนธิสุกล และ อ้อยอุมา รุ่งเรือง. (2548). การสร้างความเข้าใจร่วมเกี่ยวกับเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) เพื่อการ
ประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ). โครงการบัณฑิตศึกษา
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

วรดุลย์ ตุลารักษ์. (2551). Hedonistic Consumerism - สุข-บริโภคนิยม บริโภคนิยมแนวความสุข : หัวใจของระบบทุนนิยม
หลังสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2559, จากเว็บไซต์ : http://v1.midnightuniv.org/midnighttext/0009999837.html.

วนิศา โชคปลอด. (2554). การเป็นหนี้นอกระบบของพนักงาน : กรณีศึกษา นิคมสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา
จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม, มหาวิทยาลัยบูรพา

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี : อักษรศิลป์การพิมพ์

สนธยา บางบ่อ. (2552). วิถีชีวิตและภาระหนี้สินของสาวโรงงาน กรณีศึกษา บริษัท วาไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน).
รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย สาขาพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมชัย จิตสุชน. (2543). พฤติกรรมที่ไม่พอเพียงกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สุดใจ จงวรกิจวัฒนา. (2551). รายได้และความโน้มเอียงในการใช้จ่ายของครัวเรือนเกษตรกรกับความพอเพียงทางเศรษฐกิจ.
กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2552). ต้องเข้าใจ...ต้องศรัทธาและกล้าทำ. ใน จงกลนี สายะบุตร (บรรณาธิการ), การบริหารทรัพยากร
บุคคลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย.

สิระยา สัมมาวาจ. (2546). บริโภคนิยม : วัฒนธรรมสากลในยุคโลกาภิวัตน์, วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 16 (1) , 80-90.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ : เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2553 ของ สศช.

อภิชา ที่รักษ์. (2551). ทางรอดในภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้าวิชาการ.

อารีย์ นัยพินิจ และคณะ. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ Adjustment under Globalization. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 7 (1), 3 - 6.

Bell, N.S., & Narz, M. (2007). “Meeting the challenges of age diversity in the workplace”, The CPA Journal, 77 (2),
pp.56 - 60.

Blackwell, R., Miniard, P. W., & Engel, J. F. (2006). Consumer behavior (10th ed). Mason, OH : Thomson/South-Western.

Casey Carlson & Deloitte & Touche Study. “Overcoming Generational Gap in the Workplace.” United Nations
Joint Staff Pension Fun : 1 - 13.

Elliott, John E. (2000). Adam Smiths Conceptualization of Power, Market And Politics. Review of Social Economy.

HAAS III,W.H., & Serow,W.J. (2002). “The Baby Boom, Amenity Retirement Migration, and Retirement Communities :
Will the Golden Age of Retirement Continue?” Research on Aging, 24 (1), 150 - 164.

Little, A. W. & Green, A. (2009). Successful globalisation, education and sustainable development. International
Journal of Educational Development, 29 (2), 166 - 174.

Marconi, J. (2001). Future marketing : Targeting seniors, boomers, and generations X and Y. Chicago, IL : NTC
Contemporary Publishing Group Inc.

Nissanke, M. & Thorbecke, E. (2006). Channels and policy debate in the globalization- inequality-poverty nexus.
World Development, 34 (8), 1338 - 1360.

Schiffman, Leon G., Kanuk, Leslie Lazar. (2007). Consumer behavior. (9th ed). Upper Saddle River, NJ : Pearson/
Prentice Hall.

Smith, J.W. & Clurman, A. (1997). Rocking the Ages : The Yankelovich Report on Generational Marketing. New York :
Harper Business.

Solomon, Michael R. (2007). Consumer Behavior : Buying, Having, and Being. (7th ed). Upper Saddle River, NJ :
Prentice Hall.

Tolbize. A (2008). “Generation differences in the workplace.” Research and Training Center on Community Living.