การวิเคราะห์ผลของทุนมนุษย์ของผู้นำหน่วยงานรัฐที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร

Main Article Content

สมชาย สุขสิริเสรีกุล

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์หลักในการระบุผลของทุนมนุษย์ของผู้นำหน่วยงานรัฐที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร แบบจำลองใช้คะแนนผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานราชการเป็นตัวแปรตาม ส่วนทักษะที่มีอยู่ ประสบการณ์การทำงาน  ลักษณะขององค์กร และปัจจัยส่วนบุคคลเป็นตัวแปรอิสระ ข้อมูลรวบรวมจาก 103 ผู้นำหน่วยงานรัฐ ผลการวิเคราะห์สมการพหุถดถอยบ่งบอกว่าคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนที่สูง (ต่ำ) การใช้ทักษะแบบทั่วไปมาก (น้อย) การฝึกอบรมในด้านความชำนาญเฉพาะทางต่อระยะเวลาที่ทำงานในหน่วยงานปัจจุบันเป็นจำนวนน้อย (มาก) และหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่จำนวนน้อย (มาก) นำมาสู่ความสำเร็จ (ความล้มเหลว) ในการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน โดยที่การประมาณการประเภทและปริมาณของทุนมนุษย์ที่เหมาะสมแก่การบรรลุเป้าหมายชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงในคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนมีผลคะแนนผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานมากที่สุด การวิเคราะห์ทุนมนุษย์ของผู้นำหน่วยงานรัฐในอนาคตจำนวน 203 รายจาก 103 หน่วยงานเดียวกันกับตัวอย่างข้างต้นระบุว่า คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนที่ต่ำกว่าของผู้นำหน่วยงานรัฐในอนาคตเป็นการขาดแคลนทุนมนุษย์เพียงประเภทเดียวที่ส่งผลเสียต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรในอนาคต                        


การพยากรณ์บ่งชี้ว่าหากต้องการให้หน่วยงานได้รับคะแนนผลการปฏิบัติราชการสูงสุด ผู้นำหน่วยงานรัฐในอนาคตควรมีคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.05 ต้องได้รับการฝึกอบรมในด้านความชำนาญเฉพาะทางต่อระยะเวลาที่ทำงานจำนวน 1.08 หลักสูตรต่อปี และสัดส่วนการใช้ทักษะแบบทั่วไปเพื่อบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานเป็นร้อยละ 51 นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐในอนาคตควรมีเจ้าหน้าที่ 265 คนต่อแห่ง การศึกษาเสนอแนะให้มีการส่งเสริมการใช้ทักษะแบบทั่วไปของผู้นำหน่วยงาน ในระยะสั้น ควรลดจำนวนหลักสูตรการฝึกอบรมในด้านความชำนาญเฉพาะทางต่อระยะเวลาที่ทำงานของผู้นำหน่วยงานในปัจจุบันลงและเพิ่มให้กับผู้นำหน่วยงานในอนาคต ในระยะยาว คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนในระดับปริญญาตรีควรนำมาเป็นเกณฑ์ในการรับข้าราชการ (พนักงานรัฐ) ใหม่และในการพิจารณาการดำรงตำแหน่งของผู้นำหน่วยงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมชาย สุขสิริเสรีกุล (2545) การปรับตัวของข้าราชการในระบบราชการไทยยุคปฏิรูป สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Frederiksen, A. et al (2011) Human capital and career success: Evidence from linked employer-employee data The Institute for the Study of Labor (IZA) Discussion Paper No. 5764 (from website : https://www.iza.org/en/webcontent/publications/papers/viewAbstract?dp_id=5764)

Lazear , E. P. (2012) “Leadership: A personnel economics approach” Labour Economics Volume 19, Issue 1,
pp 92-101

Moynihan, D. P. et al (2011) “Setting the Table: How Transformational Leadership Fosters Performance Information Use” Journal of Public Administration Research and Theory Vol.21 pp.1-22

Masakure, O. (2012) “An Empirical Test of Lazear's leadership theory using evidence from Ghana” Applied
Economics Letters Vol.19 (1) pp.79-82