การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว

Main Article Content

ยุรนันท์ ตามกาล
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล
เกียรติวรรณ อมาตยกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว มีวัตถุประสงค์  2 ประการ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวที่มีวิถีชีวิตสีเขียวหรือครอบครัวสีเขียว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับครอบครัวสีเขียวที่เป็นกรณีศึกษาที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 5 ครอบครัว และ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว ใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัยและครอบครัวทดลอง จำนวน 3 ครอบครัว  โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning :PL) รวมระยะเวลาที่อยู่ในกระบวนการทั้งสิ้นประมาณ 6 เดือน  ผลการวิจัยพบว่า 1)ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวสีเขียว  ประกอบด้วย  (1)พื้นฐานของครอบครัว  ได้แก่ สมาชิกครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน,สมาชิกสามารถจัดการพื้นที่ในบ้านให้ใช้ประโยชน์ได้ และสมาชิกมีพื้นความรู้ ความสนใจบางอย่างที่นำมาใช้ในการปฏิบัติตามวิถีชีวิตสีเขียวได้ (2)แรงจูงใจในการมีวิถีชีวิตสีเขียว มาจากปัญหาสุขภาพ ความตระหนักในสิ่งแวดล้อมของโลก และความสนใจในเกษตรกรรม (3)เนื้อหาของวิถีชีวิตสีเขียวที่ปฏิบัติ แบ่งได้เป็น การปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่น และการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล (4)การเรียนรู้ของครอบครัวในการมีวิถีชีวิตสีเขียวเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว (5)สุขภาวะของครอบครัว ส่วนใหญ่ดีขึ้นจากเดิมทั้งทางกาย จิตใจ และสังคม และ (6)กระบวนการเรียนรู้ของครอบครัวมี 9 ขั้นตอน อาทิ การเริ่มต้นจากแรงจูงใจด้านปัญหาสุขภาพ การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การลงมือทำในครอบครัว  การเรียนรู้เพิ่มเติมเมื่อพบปัญหาและอุปสรรคจากแหล่งเรียนรู้หรือประสบการณ์ของสมาชิกครอบครัว


          2) กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างสมาชิกครอบครัว การระบุปัญหาและความต้องการที่จะแก้ไขสุขภาวะของครอบครัว การวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ การทดลองใช้ในชีวิตประจำวัน การหาความรู้เพิ่มเติม การทดลองใช้ในชีวิตประจำวันซ้ำ การประเมินผลด้วยตนเอง และ องค์ประกอบของกระบวนการ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ บริบทเฉพาะของครอบครัว กิจกรรมการเรียนรู้ ทัศนคติหรือลักษณะทางความคิด ต้นทุนหรือสิ่งสนับสนุน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โครงการสร้างเสริมสุขภาวะมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (2551). สุขภาวะ. Retrieved 17 กุมภาพันธ์ 2557 https://www.nstru.ac.th/healthy/?action=sp2

โครงการสุขภาพคนไทย. (2554a). ความสัมพันธ์ในครอบครัว ใน สุขภาพคนไทย 2554 : เอชไอเอ กลไกพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อชีวิตและสุขภาพ. หน้า 22-23 . นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

โครงการสุขภาพคนไทย. (2554b). สุขภาพกาย ใน สุขภาพคนไทย : เอชไอเอ กลไกพัฒนา นโยบายสาธารณะเพื่อชีวิตและสุขภาพ. หน้า 10-11 . นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

โครงการสุขภาพคนไทย. (2554c). สุขภาพจิต ใน สุขภาพคนไทย 2554 : เอชไอเอ กลไกพัฒนา นโยบายสาธารณะเพื่อชีวิตและสุขภาพ. หน้า 12-13 . นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

โครงการสุขภาพคนไทย. (2556). สุขภาพคนไทยในรอบ 10 ปี ใน สุขภาพคนไทย 2556 : ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจเพิ่มพลังพลเมือง. หน้า 6-7. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญศิริ มีสำราญ. (2544). รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรพร อภิชิต. (2552). วิถีชีวิตสีเขียวในเมืองใหญ่ กาย ใจ จิตวิญญาณ (Green Guide Book Vol.2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2544). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย. (2556). สุขภาวะครอบครัวไทยปี 55 น่าห่วง ติดสุรา-ความรุนแรงพุ่ง. Retrieved 14 กุมภาพันธ์ 2557 www.enn.co.th

สุปรียา ห้องแซง. (2554). ตะลอนเที่ยวชุมชนพึ่งตนเอง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา.

สุมณฑา พรหมบุญ และคณะ. (2541). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ใน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, การปฏิรูป
การเรียนรู้ตามแนวคิด 5 ทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไอเดียสแควร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). คู่มือครอบครัว ก้าวแรกสู่บ้านเรียน : หลักคิดและกระบวนการเข้าสู่การศึกษาโดยครอบครัว. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. ตอนที่ 16 ก หน้า 1/19.

อภิญญา ตันทวีวงศ์. (2554). หลากวิถีสู่สุขภาวะ. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น : ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ.

อุทุมพร อินทจักร์. (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัวสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lee, W. O. (2014). Lifelong learning and learning to learn : An enabler of new voices for the new times. International Review of Education, 60 (4), 463–479.

Lorenzen, J. A. (2012). Going Green: The Process of Lifestyle Change1. Paper presented at the Sociological Forum.

Maas, J., Verheij, R. A., de Vries, S., Spreeuwenberg, P., Schellevis, F. G., & Groenewegen, P. P. (2009). Morbidity is related to a green living environment. Journal of epidemiology and community health, 63 (12), 967-973.

Missingham, B. (2007). Participatory Learning in University Development Studies. Retrieved 2012, August 27 https://criticalpedagogyconference.wordpress.

Moisander, J., & Pesonen, S. (2002). Narratives of sustainable ways of living: constructing the self and the other as a green consumer. Management decision, 40 (4), 329-342.

Pretty, J. N. , Guijt, Irene. , Scoones ,Ian. & Thompson ,John.(1995). A Trainer’s Guide for Participatory Learning and Action. London : IEED.

Pretty, J. N. (1997). Participatory Learning for Integrated Farming [online]. Available from : https:// agris.fao.org/agris-search/search/display.do?f=2000/DK/DK00026.x ml; DK2000000878 [2012, August 27]

Su, Y. (2010). The non-instrumental vision of the learning society. International Review of Education, 56 (5-6), 517–530.

UNESCO. (2001) Module Four Participatory Learning. [Online]. Available from : https://www2.unescobkk.org/elib/publications/nonformal/M4.pdf [2012, August 19]