การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก และการรับรู้บรรยากาศองค์การ ที่มีต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อ ของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า

Main Article Content

พิพากร เลขภัสร์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก และการรับรู้บรรยากาศองค์การที่มีต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อ ของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า” เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก การรับรู้บรรยากาศองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และความตั้งใจคงอยู่ในงาน ของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ ลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก การรับรู้บรรยากาศองค์การ ที่มีต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่งจำนวน 444 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก 3) แบบสอบถามการรับรู้บรรยากาศองค์การ 4) แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ 5) แบบสอบถามความตั้งใจคงอยู่ในงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์เส้นทางส่งผลของตัวแปร (Path Analysis) ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. พนักงานมีลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุกอยู่ในระดับสูง

  2. พนักงานมีระดับการรับรู้บรรยากาศองค์ด้านการมีส่วนร่วม ด้านโครงสร้าง และด้านความอบอุ่นและการสนับ สนุนอยู่ในระดับสูง ด้านการให้รางวัล ด้านความเจริญก้าวหน้าและพัฒนา และด้านการควบคุมอยู่ในระดับปานกลาง

  3. พนักงานมีระดับความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจอยู่ในระดับสูง ด้านการคงอยู่ และด้านบรรทัดฐานอยู่ในระดับปานกลาง

  4. พนักงานมีระดับความตั้งใจคงอยู่ในงานอยู่ในระดับปานกลาง

  5. ลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ และด้านบรรทัดฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ ด้านการคงอยู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  6. การรับรู้บรรยากาศองค์การด้านการมีส่วนร่วม ด้านโครงสร้าง ด้านการให้รางวัล ด้านความอบอุ่น และ การสนับสนุน ด้านความเจริญก้าวหน้าและพัฒนา และด้านการควบคุม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  7. การรับรู้บรรยากาศองค์การด้านการมีส่วนร่วม ด้านโครงสร้าง ด้านการให้รางวัล ด้านความอบอุ่น และการสนับสนุน ด้านความเจริญก้าวหน้าและพัฒนา และด้านการควบคุม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจคงอยู่ในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  8. ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่ และด้านบรรทัดฐาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจคงอยู่ในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  9. ลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก และการรับรู้บรรยากาศองค์การ มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน โดยที่ลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก เป็นตัวแปรที่ส่งผลไปยังการรับรู้บรรยากาศองค์การ และการรับรู้บรรยากาศองค์การส่งผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน ทั้งโดยตรงและผ่านความผูกพันต่อองค์การ

ผลจากการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงตัวแปรที่เป็นสาเหตุของความตั้งใจคงอยู่ในงาน และตัวแปรที่เป็นสื่อจากสาเหตุไปสู่ความตั้งใจคงอยู่ในงาน ซึ่งองค์การสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนสำหรับพัฒนาบุคลากรในองค์การ หรือวางกลยุทธ์ต่างๆในการส่งเสริมให้พนักงานมีการคงอยู่ในงานต่อไป

Article Details

How to Cite
เลขภัสร์ พ. (2020). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก และการรับรู้บรรยากาศองค์การ ที่มีต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อ ของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า. Journal of HR intelligence, 15(1), 39–56. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hri/article/view/189663
บท
บทความวิจัย

References

Books and Book Articles
Covey, S. R. (1989). The 7 habits of highly effective people. London: Simon & Schuster.
Yamane, T. (1973). An introductory analysis (3rd. ed.). New York: Harper and Row.

Articles
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63, 1-18.
Bateman, T. S. & Crant, J. M. (1993) Proactive component of organizational behavior: a measure and correlates. Journal of Organizational Behavior, 14, 103-118.
Baugh, S. G., & Roberts, R. M. (1994). Professional and organizational commitment among engineering: Conflicting or complementing? IEEE Transactions on Engineering Management, 41(2), 108-114.
Blau, G. J., & Boal, K. B. (1987). Conceptualizing how job involvement and organizational commitment affects turnover and absenteeism. Academy of Management Review, 12(2), 288-300.
Cowin, L. S., & Hengstberger-Sims, C. (2004). New graduate nurse self-concept and retention: A longitudinal survey. International Journal of Nursing Studies, 43, 59-70.
Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitments. Administrative Science Quarterly, 22, 46-56.