แรงจูงใจและกลวิธีการเรียนรู้ภาษาเยอรมัน ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคใต้ของไทย
Keywords:
แรงจูงใจ, กลวิธีการเรียนรู้Abstract
โครงการวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาแรงจูงใจและกลวิธีการเรียนรู้ภาษาเยอรมันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนในภาคใต้ของไทย เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในด้านต่างๆ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งกำลังประสบปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษาที่ลดลง งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยที่เน้นเชิงคุณภาพซึ่งเข้าถึงข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ เชิงลึกโดยมีพื้นฐานจากการวิเคราะห์ ข้อมูลจากแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง (แบบสอบถาม จำนวน 255 ฉบับ ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติและสรุปในเชิงพรรณนาและมีการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 20 คน จากโรงเรียนสตรีภูเก็ต จ.ภูเก็ต และโรงเรียนพัทลุง จ.พัทลุง) ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจเป็นพื้นฐานสำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ภาษาเยอรมันและมีผลต่อการเลือกกลวิธี การเรียนรู้รวมทั้งแนวโน้มในการศึกษาต่อของผู้เรียน จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งแรงจูงใจได้ดังนี้ 1) แรงจูงใจที่มีเงื่อนไขเชิงปัจเจก 2) แรงจูงใจทางสังคมและวัฒนธรรม 3) แรงจูงใจที่มีเงื่อนไขด้านการศึกษาและอาชีพและ 4) แรงจูงใจด้านเศรษฐกิจ การเงิน
กลวิธีการเรียนรู้ภาษาเยอรมันมีความหลากหลายตามแรงจูงใจของผู้เรียน ผู้เรียนส่วนใหญ่ใช้กลวิธีการเรียนรู้อย่างตั้งใจในชั้นเรียนผ่านครูผู้สอน แต่ผู้ที่มีแรงจูงใจและเป้าหมายชัดเจนจะมีความกระตือรือร้นสูงและแสวงหากลวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายนอกชั้นเรียน การเพิ่มแรงจูงใจภายนอกผ่านสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย และการใช้กลวิธีการเรียนทางอ้อมโดยเฉพาะกลวิธีเรียนรู้เชิงสังคม มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจและพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี