ความเหมาะสมของการสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายหาดใหญ่-ชายแดนไทย-มาเลเซียในเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา

Authors

  • ชนานันท์ ขวัญมานิจ Kent Business School, University of Kent, Canterbury, UK

Keywords:

ทางหลวงพิเศษ, ระบบขนส่ง, ประชาคมอาเซียน

Abstract

มูลค่าการค้าชายแดนที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสิทธิพิเศษเมื่อเข้าร่วมในประชาคมอาเซียน สะท้อนให้เห็นโอกาสในทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับประเทศไทย พื้นที่การค้าชายแดนที่สำคัญแห่งหนึ่งได้แก่เขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา โดยทั่วไปปัจจัยประการหนึ่งที่จะดึงดูดนักลงทุนคือระบบโลจิสติกส์ แม้ว่าบริเวณดังกล่าวจะมีระบบการขนส่งที่ค่อนข้างมีมาตรฐาน แต่ในอนาคตเมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัว โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีโครงการ “ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หาดใหญ่-ชายแดนไทย-มาเลเซีย” เกิดขึ้น โครงการดังกล่าวคาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ในแง่ของภาคธุรกิจ สามารถลดต้นทุนจากการขนส่ง ลดอุบัติเหตุและร่นระยะทางรวมถึงระยะเวลาในการเดินทางในการขนส่งสินค้าได้ อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ภาครัฐควรคำนึงถึงในการดำเนินโครงการมีดังเช่น จุดเชื่อมต่อกับพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ในอนาคต การเก็บค่าผ่านทางเพื่อสร้างรายได้แก่ภาครัฐ การวางมาตรการเกี่ยวกับระบบระบายน้ำ การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนซึ่งจะเป็นแนวทางให้ภาครัฐดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถลดผลกระทบต่อทุกฝ่ายให้ได้น้อยที่สุด

Downloads

How to Cite

ขวัญมานิจ ช. (2017). ความเหมาะสมของการสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายหาดใหญ่-ชายแดนไทย-มาเลเซียในเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 13(1), 169–190. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/97681