ปัญญาชนในเรื่องสั้นของแฟลนเนอรี โอ คอนเนอร์

Authors

  • ณัฐยาภรณ์ วรศักตยานันต์ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

วรรณคดีอเมริกัน, เรื่องสั้น, แฟลนเนอรี โอ คอนเนอร์, นักเขียนแคธอลิก, ตัวละคร, ปัญญาชน, American literature, short stories, Flannery O’Connor, Catholic writer, character, intellectuals

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาตัวละครที่เป็นปัญญาชนในเรื่องสั้นของแฟลนเนอรี โอ คอนเนอร์ โดยศึกษาชีวประวัติผู้เขียนและกลวิธีการประพันธ์ในการนำเสนอ ตัวละคร

ผลการศึกษาพบว่า ภูมิหลังทางสังคมและความเชื่อทางศาสนาของแฟลนเนอรี โอ คอนเนอร์ มีผลต่อแนวคิดและการนำเสนอภาพลักษณ์ด้านลบของตัวละครปัญญาชน ในเรื่องสั้น 9 เรื่องที่ศึกษา ตัวละครซึ่งเป็นปัญญาชน 7 ตัวเป็นตัวละครเอก ส่วนที่เหลือเป็นเพียงตัวละครรอง ตัวละครเหล่านี้ล้วนมีภูมิหลังคล้ายคลึงกันทั้งด้านชีวิตครอบครัวและสถานภาพทางสังคม ซึ่งสะท้อนชีวิตที่ไร้ค่า สภาพจิตที่ไม่ปกติ และการดำรงชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ อาจกล่าวได้ว่าผู้ประพันธ์นำเสนอตัวละครปัญญาชนในเชิงลบทั้งสิ้น ลักษณะที่โดดเด่น ของตัวละครเหล่านี้คือ ความไร้ศรัทธาในพระเจ้า การคำนึงถึงแต่ตนเอง การต้องพึ่งพาผู้อื่น เนื่องจากชีวิตที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด ตัวละครดังกล่าวจึงอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งและปัญหา กระนั้นก็ตาม ด้วยความหลงทะนงว่ามีปัญญาและเหตุผลเหนือผู้อื่น ปัญญาชนในเรื่องสั้นของ โอ คอนเนอร์ จึงมองไม่เห็นความอ่อนแอและความด้อยของตน ซ้ำยังดิ้นรนต่อสู้อย่างดึงดันเพื่อเอาชนะข้อจำกัดพร้อมทั้งยืนยันว่าตนจัดการกับปัญหาได้โดยไม่ต้องอาศัยความ ช่วยเหลือจากผู้อื่น ท้ายที่สุดปัญญาชนเหล่านี้ก็เผชิญกับความพ่ายแพ้ ซึ่งเห็นได้จากความ แปลกแยก ความทุกข์ และการสูญเสีย โอ คอนเนอร์ ใช้ตัวละครปัญญาชนในงานเขียนเสียดสีมนุษย์ในสังคมปัจจุบันที่เชื่อว่าตนเองสามารถเอาชนะขีดจำกัดได้ ในการนี้ ผู้ประพันธ์แสดงความเคลือบแคลงและวิพากษ์ปัญญามนุษย์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งสังคมศาสตร์สมัยใหม่ซึ่งมนุษย์ปัจจุบันถือว่าเป็นหนทางไปสู่ความหมายของชีวิต ปัญญาชนในเรื่องสั้นเหล่านี้จึงประสบความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า นอกจากนี้ผู้แต่งยังชี้ว่าค่านิยมปัจจุบันที่ทำลายความ ดีงามในจิตใจ และข้อด้อยของมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความแห้งแล้งทางจิตวิญญาณ ความทุกข์ และความโหดร้ายในสังคมสมัยใหม่

 

The Intellectuals in Flannery O’Connor’s Short Stories

This research aims to study the intellectuals in the nine short fictions of Flannery O’Connor. The author’s background and literary techniques are also examined for the complete understanding of the literary presentation of this type of characters.

O’Connor’s social background and religious belief are found to restrict her vision and crucially determine the harsh portrayals of her fictional intellectuals. Seven out of nine intellectuals in this study are protagonists, whereas the rest play marginal roles in the stories. These intellectuals have similar backgrounds: social status and family life which reflect their nonproductive life, abnormal psychology, and their incomplete existence. Depicted in a clearly negative light, the intellectual characters’ most prominent traits are atheism, egoism, and dependence. Due to their own limited condition, all intellectuals live in the midst of conflicts and problems. Yet, with their excessive pride in their apparent power of intellect and reason, these intellectuals are blinded to their own weakness and inferiority. They stubbornly struggle against unpleasant situations and problems to overcome their vulnerability, and at the same time assert their presumed self-sufficiency. But, they eventually encounter defeats in forms of alienation, suffering and loss. O’Connor’s fictitious intellectuals satirically mirror modern man who believes that he can outrun his own limitations. Through their negative pictures and repetitively crushing defeats, O’Connor reveals her distrust in and criticism on intellect, science, including modern social science regarded by the modern secular as a means to achieve the meaning of life. The author also points out that such destructive values as well as human flaws are significant factors leading to spiritual barrenness and misery as well as malice in contemporary society.

Downloads

How to Cite

วรศักตยานันต์ ณ. (2008). ปัญญาชนในเรื่องสั้นของแฟลนเนอรี โอ คอนเนอร์. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 4(1), 27–55. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85893