การจัดการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษากลุ่มดอกไม้ใบยาง จังหวัดปัตตานี

Authors

  • ปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, ดอกไม้ใบยาง, ปัตตานี, One Tambon One Product, rubber-leaved flowers, Pattani

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ กระบวนการผลิต การตลาด ตลอดจนการวิเคราะห์ SWOT ของกลุ่มดอกไม้ใบยาง ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์ประธานกลุ่ม สมาชิกและจัดวิธีการสนทนากลุ่ม พร้อมทั้งสัมภาษณ์เจาะลึกหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการให้การสนับสนุน 4 หน่วยงาน รวมทั้งหมด 27 คน ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มดอกไม้ใบยางมีการบริการจัดการกลุ่ม โดยแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ ประธานกลุ่มจะเป็นผู้ประสานงานหลักในแต่ละฝ่าย สมาชิกส่วนใหญ่ทำงานเพื่อเป็นอาชีพเสริม มีกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีทั้งในรูปวัตถุดิบคือใบยางฟอกขาว ย้อมสี และดอกไม้จากใบยางพาราประดิษฐ์และผลิตภัณฑ์อื่น กลุ่มมีตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตลาดต่างประเทศที่ติดต่อซื้อขายเป็นประจำคือ มาเลเซียและญี่ปุ่น ซึ่ง รายได้ของกลุ่มจากการส่งออกสินค้าคิดเป็นร้อยละ 60-70 ของรายได้ทั้งหมด วิเคราะห์ SWOT จุดแข็ง ด้านผู้นำ วัตถุดิบ เทคนิคการย้อมสี และความหลากหลายของสินค้า จุดอ่อน ปัจจุบันต้องรับซื้อใบยางฟอกจากต่างจังหวัด และเมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก กลุ่มไม่สามารถผลิตได้ ไม่มีตราสินค้าของกลุ่มและบรรจุภัณฑ์ ไม่มีการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่ม ขาดผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โอกาสด้านตลาด มีลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ชอบสินค้าประเภทหัตถกรรม และมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ลูกค้านิยมใช้แทนดอกไม้สด ตลาดต่างประเทศ ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว บางตลาดยังไม่ได้เข้าไปทำตลาด ไม่มีคู่แข่งผลิตสินค้าจาก ต่างประเทศ อุปสรรคจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ไม่สามารถขายสินค้าในจังหวัดได้ การนำเข้าสินค้าประเภทเส้นใยพืชในบางประเทศมีความ เข้มงวดสูง และในอนาคตจีนอาจลอกเลียนแบบผลิตสินค้าและขายตัดราคาได้

ข้อเสนอแนะ

กลุ่มผู้ผลิต สร้างคน รักษาเครือข่าย ตั้งสาขาในสถานที่ต่าง ๆ การฝึกอบรม เพิ่มเติมความรู้และฝึกทักษะให้สมาชิก รักษามาตรฐานและคุณภาพสินค้า สร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง สร้างตราสินค้าและใช้บรรจุภัณฑ์ รักษาฐานลูกค้าเดิมและเร่งหาตลาดใหม่ ๆ ในต่างประเทศ จัดทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มเอง หน่วยงานภาครัฐบาล การฝึกอบรม มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหา สนับสนุนในการจัดงานแสดงสินค้า ส่งเสริมการทำวิจัยที่เป็นประโยชน์

 

The Management of One Tambon One Product: A Case Study of the Rubber-Leaved Flowers Group in Pattani

The purpose of this qualitative research was to study the OTOP management, the production process and the marketing of the Pattani-based Rubber-Leaved Flowers Group. The study also included the SWOT analysis of the group’s business management. The data collection involved documentary study, in-depth interviews with the president and members of the Rubber-Leaved Flowers Group, including four supporting governmental agencies, and group discussion. There were altogether 27 participants in the study.

Regarding the management, the group was divided into different divisions, each of which holding varying responsibilities and the president serving as a group co-ordinator. Most of the members joined the group to earn extra income, each of whom would be paid according to the number and the quality of the products they could make. Since the group used rubber leaves as raw materials, the production process didn’t effect the environment. The products by this group included raw materials such as bleached or dyed rubber leaves and flowers made from artificial rubber leaves, which were supplied to both domestic and international markets. Malaysia and Japan were the two major consumers of their exports which made up about 60-70% of the group’s overall income.

The SWOT analysis of the Rubber-Leaved Flowers Group’s business management revealed that the group’s achievement had much to do with their capable leader, the accessibility of raw materials, the unique dyeing techniques and the variety of products. The group, however, faced certain difficulties. For example, local dyed rubber leaves were still insufficient for the full-scale production, and some had to be purchased from rubber planters in other provinces. The group’s productivity was so far inadequate to respond to large orders. The group still lacked its own trademark, a website for e-commerce, and was in need of professional designers to create new products. As for the group’s potentiality, there remained constant demands from some particular groups of customers who preferred handicraft products to real flowers. International demands for these products were similarly on the increase, while exploration for new markets has not yet been made. Nevertheless, there were some problems that the group had to deal with, that is, the unrest in the three southern border provinces which has dampened local trades, the stern restrictions on the import of fiber products from some countries, and a strong competition with China, who has shown a great potential in their productivity.

To deal with the prevailing drawbacks, it is recommended that each sector has its own responsibility. As for the production group, there should be development of human resources, continuation with their networks, expansion of branches in different areas, training of the group members for working skills, preservation of the standard and quality of the products, competitive advantages, establishment of its brand and standard packaging, and search for new markets abroad. For the government sector, training should be provided for the group, co-ordination be made available between units to solve any problems that may occur, arrangement for expo- fairs be supported and useful research projects be encouraged.

Downloads

How to Cite

เบ็ญฤทธิ์ ป. (2008). การจัดการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษากลุ่มดอกไม้ใบยาง จังหวัดปัตตานี. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 4(1), 7–26. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85891