นวนิยายรักร่วมเพศ : ปัญหาและคุณค่าของมนุษย์

Authors

  • วรรณนะ หนูหมื่น สาขาวิชาภาษาไทย บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

คุณค่า, นวนิยายรักร่วมเพศ, novels on homosexuality, value

Abstract

นวนิยายรักร่วมเพศในช่วงปีพุทธศักราช 2519 ถึง 2547 ที่คัดเลือกมาศึกษา 7 เรื่องคือ ทางสายที่สาม (2525) เส้นทางที่ว่างเปล่า (2543) ประตูที่ปิดตาย (2519) เงาพระจันทร์ (2524) ใบไม้ที่ปลิดปลิว (2531) รูปทอง (2532) และนางเอก (2547) มีจุดเด่นร่วมกันที่ การตั้งคำถามต่อสิทธิในการตอบสนองความต้องการทางเพศและศักดิ์ศรีในสังคมของผู้ถูก ประณามว่าผิดเพี้ยนไปจากบรรทัดฐานของคุณค่าทางสังคม ผู้แต่งผูกเรื่องให้ติดตามการเผชิญ ปัญหาของตัวละครดังกล่าว ทั้งที่เป็นตัวเอกและฝ่ายปฏิปักษ์ โดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องรักษา สถานภาพทางสังคมไว้ ความสุขหรือความทุกข์ของตัวละครดังกล่าวแปรตามทางออกที่ ประกอบด้วยวุฒิภาวะซึ่งเชื่อมโยงกับลักษณะนิสัยและปฏิสัมพันธ์กับตัวละครอื่น คุณค่าความ เป็นมนุษย์ของตัวละครผู้มีปัญหามักปรากฏในความรู้สึกผิดที่ทำให้บุคคลใกล้ชิดต้องเดือดร้อน ไปด้วย ตัวละครเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังดำรงคุณธรรมที่กำกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น และรักษา ความนับถือตนเองไว้ได้ในด้านใดด้านหนึ่ง ถึงแม้ตัวละครหญิงที่แปลกเพศในสองเรื่องซึ่งถูก กำหนดให้เป็นฝ่ายปฏิปักษ์มีพฤติกรรมที่เข้าใจได้ว่าเป็นปัญหาเพราะภูมิหลังของการเลี้ยงดูใน ครอบครัว แต่การเลือกเน้นมุมมองของตัวเอกฝ่ายหญิงที่ถูกรุกเร้าคุกคามก็ดูจะลดทอนความ น่าเห็นใจต่อผู้ถูกกล่าวหาว่าผิดเพศ เมื่อพิจารณานวนิยายทั้ง 7 เรื่องโดยภาพรวม กล่าวได้ว่า สังคมไทยในรอบสามทศวรรษยังไม่เปิดกว้างต่อการยอมรับบุคคลรักร่วมเพศ และผู้แต่งยังติด อยู่ในบรรทัดฐานของสังคม ด้วยเหตุนี้การตั้งคำถามของผู้แต่งจึงยังไม่บรรลุผล

 

Novels on Homosexuality : Problems and Human Value

Seven novels focusing on homosexuality, published between 1976 and 2004, were selected for this study: Thang Sai Thisam (1982), Sen Thang Thi Wangplaw (2000), Pratu Thipittai (1976), Ngaw Phrachan (1981), Baimai Thi Plitpliw (1988), Rupthong (1989) and Nang-ek (2003). The common question of these novels is the right to have a different sexual orientation and the dignity of those socially considered sexual deviants. The stories unfold both the protagonists and the antagonists’ problems especially when they have to maintain their expected social status to avoid being condemned. Their joy and miseries vary, depending on their solutions of relative maturity, which, in turn, relate to their character or interaction with others. The human value of these troubled characters often appears in their feeling of guilt at inflicting pains on those close to them. Most of the characters in question still keep worthy relationship with others as well as a certain self-respect. Although the lesbians in two of the novels under study are portrayed as antagonists with behaviors conditioned by the way they were raised in the family, the selection of their female victims’ narrative viewpoint reduces readers’ sympathy for the female deviants. A close examination of the seven novels reveals that Thai society during the last three decades in general did not accept homosexuals. As the authors apparently still adhered to the established norms, the point they raised did not achieve its ends.

Downloads

How to Cite

หนูหมื่น ว. (2008). นวนิยายรักร่วมเพศ : ปัญหาและคุณค่าของมนุษย์. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 4(2), 35–75. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85880