โลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ ม้าก้านกล้วย ของไพวรินทร์ ขาวงาม

Authors

  • กีรติกานต์ บุญฤทธิ์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ดวงมน จิตร์จำนงค์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มนตรี มีเนียม ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

กวีนิพนธ์ร่วมสมัย, ม้าก้านกล้วย, โลกทัศน์, contemporary poetry, Ma Kan Kluay, worldviews

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษาโลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ชุด ม้าก้านกล้วย ของไพวรินทร์ ขาวงาม อันเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้แต่ง และบริบททางสังคม วัฒนธรรมของบทประพันธ์

โลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ชุด ม้าก้านกล้วย เป็นโลกทัศน์ที่สร้างสมมาจาก ประสบการณ์ชีวิต และการร่วมรับรู้การต่อสู้ของผู้คนในยุคพัฒนาเศรษฐกิจ ดังปฏิกิริยาต่อ ปัญหาสังคมที่เน้นการพัฒนาวัตถุ ควบคู่ไปกับอารมณ์ความรู้สึกโหยหาอาลัยอันเนื่องจากการ พลัดพรากจากบ้านเกิด และความรู้สึกสะท้อนใจต่อความล่มสลายของสังคมเกษตรกรรม พร้อมๆกับความถดถอยทางจริยธรรมของเพื่อนร่วมยุค ไพวรินทร์ยังเชิดชูคุณค่ารากเหง้าทางวัฒนธรรมชนบทว่าจะสามารถกอบกู้จิตวิญญาณได้ เขาโน้มน้าวว่าการต่อสู้โดยไม่ละทิ้ง อุดมคติ และการเชื่อมโยงความฝันกับการเรียนรู้จะธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

กวีสำนึกในบทบาทของผู้สร้างวรรณศิลป์ โดยสามารถใช้คำประพันธ์สื่อความให้เข้า กับยุคสมัยและวัตถุประสงค์การแต่งได้อย่างเหมาะสม ทั้งฉันทลักษณ์ตามขนบและ ฉันทลักษณ์พื้นบ้าน โดยเฉพาะกลอนสุภาพในลีลาคล้ายสุนทรภู่ ซึ่งมีจังหวะภายในวรรคและ การใช้สัมผัสในอย่างแพรวพราย

นอกจากนี้กวียังสื่อความหมายและปลุกเร้าอารมณ์ด้วยความประณีตของคำ กลุ่มคำ และประโยค ในด้านระดับภาษากล่าวได้ว่ากวีใช้ระดับภาษาแบบเป็นกันเองซึ่งมี ลักษณะเด่นคือการใช้คำในวงศัพท์สามัญ และยังใช้ภาษาถิ่นอีสานเพื่อจำลองบทสนทนาให้มี ความสมจริงอย่างที่ชาวบ้านใช้พูดจากันในชีวิตประจำวัน

กวีใช้ภาพพจน์ความเปรียบหลายประเภทสื่อสารให้ครุ่นคิด อีกทั้งยังผสมผสาน สัญลักษณ์ตามขนบกับสัญลักษณ์เฉพาะตน ที่มีรากฐานความเป็นคนชนบทที่มีความใกล้ชิดกับ ธรรมชาติและวัฒนธรรมในท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน

 

Worldviews in Ma Kan Kluay by Phaiwarin Khao-ngam

This article aimed to study Phaiwarin Khaongam’s worldviews as reflected in his poem collection, Ma Kan Kluay, and related to the poet’s experience and cultural context.

The worldviews found in the Ma Kan Kluay were accumulated from the poet’s life experience and his perception of people battling against the economic development. This can be seen in his reactions towards the social problems which stressed the material development, his nostalgic feeling while being displaced from his homeland, and his distress over the fall of the agricultural society, and the moral degradation of his contemporaries. Phaiwarin upheld the values rooted in the rural culture and their power to restore spirituality. He convinced his audience that, without abandoning our ideals, we could maintain human dignity by uniting our dream with learning.

As a poet, Phaiwarin effectively composed his poetry, using the conventional as well as the folk versification, to convey his intended message for the present time. This is particularly true for his composition of ‘klon’ in Sunthornphu’s style, with regular rhythms and the adept use of internal rhymes.

His poetry, as a result, could arouse the readers’ emotion by the exquisitely crafted words, phrases, and sentences. Stylistically, the poet employed informal language and the Northeastern-Thai dialect to realistically imitate everyday conversation of common folks.

The poet used a variety of figures of speech to provoke thought on the message as well as combined the conventional symbols with his own, harmoniously drawing on his native rural life, which is close to nature and the local culture.

Downloads

How to Cite

บุญฤทธิ์ ก., จิตร์จำนงค์ ด., & มีเนียม ม. (2008). โลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ ม้าก้านกล้วย ของไพวรินทร์ ขาวงาม. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 4(2), 7–34. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85879