อัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิมในตำบลรือเสาะออก : ภาคใต้ของ ประเทศไทย

Authors

  • อลิสา หะสาเมาะ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

Keywords:

ความขัดแย้ง, ชุมชน, มุสลิม, สันติ, อัตลักษณ์, Community, Confliet, Identity, Muslim, Peace

Abstract

การศึกษามุสลิมในตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส มี ความมุ่งหมาย 2 ประการ ประการแรกต้องการทำความเข้าใจบริบททางสังคมและ วัฒนธรรมชาวมุสลิมซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็น “อื่น” ในประเทศไทย และประการที่สอง ต้องการเปิดมุมมองในการทำความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมอันเนื่องมาจาก “ความหลากหลายทางสังคม” (Plural Society) ว่าเป็นสิ่งที่สามารถเอื้อประโยชน์และ มีคุณค่าได้

ในอดีต คุณค่าและตัวตนของชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกกดทับ โดยอำนาจและการกระทำของรัฐไทย จนไม่สามารถเผยร่างของตนออกมาได้ แต่ อย่างไรก็ตามภายใต้กระบวนการกดทับของรัฐไทยนี้เอง ประชาชนในพื้นที่ก็ได้สร้าง กระบวนการตอบโต้และขัดขืนต่ออำนาจรัฐด้วยเช่นกัน งานศึกษานี้จึงต้องการนำเสนอ ภาพรวมของปัญหาซึ่งปรากฏออกมาในรูปความสำนึกและความเข้าใจของประชาชน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐไทย ซึ่งไม่อาจทำความเข้าใจได้เลย หากไม่พิจารณาบริบททางประวัติศาสตร์ โดยมีจุดเริ่มตั้งแต่การส่งข้าราชการจากส่วน กลาง ที่ขาดความรู้ ความละเอียดอ่อนทางด้านสังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ไปปกครองคนในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งมากมาย บทความชิ้นนี้ยังให้ ความสำคัญกับ “เสียงของชุมชน” สะท้อนให้เห็นว่าเขามองตัวตนของเขาอย่างไร และ รู้สึกเช่นไรจากการถูกปฏิบัติจากภาครัฐ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากความขัดแย้งทาง วัฒนธรรมที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่งานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบคือ พื้นที่ความเข้าใจระหว่างรัฐกับชุมชน จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภาครัฐปรับเปลี่ยนวิธีในการปฏิบัติต่อความแตกต่างหลากหลาย ของชุมชนไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา “ยุทธศาสตร์สันติวิธี” ที่กำหนดนโยบายให้เคารพ ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ในส่วนของชุมชนในพื้นที่เองก็สร้างช่องทางใน การปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในกระแสสังคมโดยสังคมยังคง ไว้ซึ่งการธำรงอยู่ของวัฒนธรรมของตน และการร่วมกันหาวิธีในการแก้ไขปัญหาใน ท้องที่ ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้และทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เอง จึงเปรียบเสมือน “การเปิดพื้นที่” พร้อมต่อการปรับตัวท่ามกลางกระแสการ เปลี่ยนแปลง ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบและสันติ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ใน อนาคตยังต้องดูกันอีกต่อไป เนื่องจากในช่วงนี้ยังถือเป็นยุคของการเปลี่ยนผ่านเพื่อ ทำความเข้าใจชุมชนและให้ความเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งการ แก้ปัญหาโดยการปรับเปลี่ยนนโยบายเท่านั้นยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาความ ขัดแย้ง ในส่วนนี้จึงต้องมีการระดมความคิดร่วมกันว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป

 

Muslims Identity in Rueso Community : Southernmost Provinces of Thailand

This article is about Muslim at Ampure Reusoh, Naratiwat Province. It has 2 mains objective. First, to understand social context and Muslim culture. The ‘other’ is call for Thai Muslim. Second, try to opened perspective about ‘Plural Society’ which can be benefit and value. In the past, value and Muslim’s identity in Southernmost Provinces is under power of Thai government. In the contrast, Muslim people construct resistant power with Thai government back. Furthermore, this article shows picture of the problem of consciousness for understanding people. The points are come from sending government officer from central. They lack of sensitive of social and cultural context in Southernmost provinces of Thailand. This factor makes a problem later. This article tries to promote voice for marginal people. Later, my proposal is the understanding between Thai government and Southernmost Muslim Province can establish by us ‘Peace strategies’.

Downloads

How to Cite

หะสาเมาะ อ. (2009). อัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิมในตำบลรือเสาะออก : ภาคใต้ของ ประเทศไทย. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 5(2), 203–230. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85877