หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี : มุมมองสามมิติ จากผู้สอน บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต

Authors

  • อดิศา เบญจรัตนานนท์ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

หลักสูตร, ศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาภาษาอังกฤษ, ผู้สอนบัณฑิต, ผู้ใช้บัณฑิต, Curriculum, Bachelor of Arts Degree in English, Instructors, Graduates, Employers

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2537 คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในด้าน 1) ความพึงพอใจ ในหลักสูตรจากมุมมองของบัณฑิต ในด้านเนื้อหารายวิชา คุณสมบัติของผู้สอน และ ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรายวิชาต่างๆในหลักสูตรในการศึกษาต่อและปฏิบัติงาน 2) ความพึงพอใจในคุณลักษณะบัณฑิตจากมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต ในด้านความรู้ความ สามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน คุณธรรมจริยธรรม และเจตคติต่อการทำงาน บุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ 3) ความพึงพอใจในหลักสูตรจากมุมมองของผู้สอนใน ด้านเนื้อหารายวิชา การจัดการเรียนการสอน และคุณสมบัติของผู้สอน และเพื่อ เปรียบเทียบ ผลที่ได้จากการประเมินของบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและผู้สอนเพื่อประเมิน หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2537 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2544 - 2546 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 42 คน ผู้ใช้บัณฑิตซึ่งได้ข้อมูลจากบัณฑิตปีการศึกษา 2544 - 2546 ที่ทำงาน แล้วจำนวน 24 คน และผู้สอนแผนกวิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่บรรจุ ก่อนปีการศึกษา 2546 จำนวน 13 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 3 ชุด ชุดที่ 1 แบบสอบถามความพึงพอใจในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีของ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2544 - 2546 ชุดที่ 2 แบบสอบถามความ พึงพอใจคุณภาพบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีของผู้ใช้ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2544 - 2546 และชุดที่ 3 แบบสอบถามความ พึงพอใจในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีของผู้สอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและค่าเอฟ

ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษา อังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2537 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ จำแนกตามผู้ตอบแบบสอบถาม คือ บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาใน หลักสูตร ผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตร และผู้สอนในหลักสูตร พบว่ามี ความพึงพอใจหลักสูตรในระดับความพึงพอใจมากทั้งด้านเนื้อหารายวิชา คุณสมบัติของ ผู้สอน และประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรในการศึกษาต่อและ ปฏิบัติงานในมุมมองของบัณฑิต ด้านความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน คุณธรรมจริยธรรม และเจตคติต่อการทำงาน บุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ในมุมมอง ของผู้ใช้บัณฑิต และด้านเนื้อหารายวิชา การจัดการเรียนการสอน และคุณสมบัติของ ผู้สอนในมุมมองของผู้สอน และเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในหลักสูตรระหว่าง บัณฑิต ผู้สอน และผู้ใช้บัณฑิต พบว่าไม่แตกต่างกัน

 

Curriculum of Bachelor of Arts Degree in English, Prince of Songkla University, Pattani : Three Dimensional Perspectives of Instructors, Graduates and Employers

This research was conducted to analyze the Curriculum of Bachelor of Arts Degree in English, (revised B.E. 2537), Humanities and Social Sciences Faculty, Prince of Songkla University, Pattani in terms of 1) satisfactions of contents, instructors’ qualifications, benefits and applications of the subjects for higher education and work performance from the graduates’ points of view; 2) satisfactions of the graduates’ characteristics, including academic and professional abilities; professional morality and attitudes; personality and interpersonal relationship from the employers’ points of view and 3) satisfactions of contents, teaching and learning methods and instructors’ qualifications from the instructors’ points of view. The results were compared for the evaluation of the curriculum.

The samples were 42 English-major graduates between 2001 and 2003 academic years, derived by means of stratified random sampling; 24 employers; 13 instructors, who started working at English Section, Western Languages Department, Humanities and Social Sciences Faculty before 2003. The instruments included 3 sets of questionnaires for the graduates, employers and instructors. Percentage, mean, standard deviation, t-test and ftest were employed in data analysis.

The study discovered that the satisfaction of the Curriculum of Bachelor of Arts Degree in English, (revised B.E. 2537), Humanities and Social Sciences Faculty, Prince of Songkla University, Pattani was at a high level regarding its contents, instructors’ qualifications, benefits and applications of the subjects for higher education and work performance from the graduates’ points of view; the graduates’ characteristics, including academic and professional abilities; professional morality and attitudes; personality and interpersonal relationship from the employers’ points of view and contents, teaching and learning methods and instructors’ qualifications from the instructors’ points of view. The comparison among the three groups of samples revealed no difference.

Downloads

How to Cite

เบญจรัตนานนท์ อ. (2009). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี : มุมมองสามมิติ จากผู้สอน บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 5(2), 173–202. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85876