นวนิยายฉายภาพชีวิต : วรรณกรรม “คำสอน” สมัยใหม่

Authors

  • วรรณนะ หนูหมื่น สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

ความขัดแย้ง, คุณธรรม, นวนิยายฉายภาพชีวิต, วรรณกรรม “คำสอน” ในรูปแบบใหม่, conflicts, new form of “didactic” works, realistic novels, virtues

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษานวนิยายฉายภาพชีวิตในแง่วรรณกรรม “คำสอน” ใน รูปแบบใหม่ ในช่วงปี พ.ศ. 2520 - 2547 ที่คัดเลือกมา 9 เรื่องคือ ผู้หญิงคนนั้นชื่อ บุญรอด (2524) ปูนปิดทอง (2525) เลื่อมสลับลาย (2525) เวลาในขวดแก้ว (2528) ทองเนื้อเก้า (2529) เกิดแต่ตม (2535) ข้ามสีทันดร (2539) ใต้เงาตะวัน (2543) และลับแลลายเมฆ (2546) นวนิยายดังกล่าวนี้มีจุดเด่นที่การต่อสู้ปัญหาและ พัฒนาการของตัวเอกที่มีพื้นฐานจากความรักตัวเอง ขณะที่เรียนรู้ที่จะแยกแยะผิดชอบ ชั่วดีที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ในสังคม ตัวละครบางตัวสามารถยืนหยัดด้วยการทำหน้าที่ อย่างสุดความสามารถจนอุทิศตนเพื่อผู้อื่นโดยไม่หวั่นต่อความยากลำบาก โดยส่วนใหญ่ ตัวละครเหล่านี้ต้องต่อสู้กับความอ่อนแอและความอ่อนไหวของตนเอง แต่ก็มีความ ละเอียดอ่อนพอที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ที่สำคัญจำเป็นต้องหันหน้าเข้าเผชิญความ ขัดแย้งด้วยตนเอง ทั้งนี้การค้นพบความสุขได้ยังต้องประกอบด้วยการพัฒนาคุณธรรม ให้เหมาะกับการแก้ปัญหาและสถานการณ์ จนสามารถอยู่เหนืออำนาจสิ่งแวดล้อมที่ เลวร้าย

 

Realistic Novels : Modern “Didactic” Literature

The purpose of this article is to examine realistic novels during 1977 - 2004 as new forms of “didactic” literary works.Nine novels are selected here : Phuying Khonnan Chue Bunrot (1981), Pun Pit Thong (1982), Luam Salap Lai (1982), Wela Nai Khuat Kaew (1985), Thong Nua Kao (1986), Kert Tae Tom (1992), Kham Sithandorn (1996), Tai Ngao Tawan (2000), and Laplae Lai Mek (2003). The distinct feature of these works is how the protagonists confront their problems and develop themselves from basic self-love while learning to differentiate right from wrong regarding questions beyond social rules. Some of them are determined to go on doing their duty at their best, even devoting themselves to others without thinking of their difficulties. Most of these characters have to fight against their own weaknesses and vulnerability, but they are still sensitive enough to have sympathy for others. An important thing for them is to face conflicts by themselves. A key component of their discovery of happiness is their development of the right virtues for particular problems or situations until they can rise above the wicked environmental forces.

Downloads

How to Cite

หนูหมื่น ว. (2009). นวนิยายฉายภาพชีวิต : วรรณกรรม “คำสอน” สมัยใหม่. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 5(2), 71–105. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85873