เศรษฐกิจของภาคครัวเรือนจังหวัดปัตตานี ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้

Authors

  • อนุวัต สงสม ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

จังหวัดปัตตานี, เศรษฐกิจภาคครัวเรือน, สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่, Household Economy, Pattani Province, Southern Unrest

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โครงสร้างรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของภาคครัวเรือน ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงในทิศทางและระดับของตัวแปรทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของครัวเรือนตัวอย่าง จำนวน 408 ครัวเรือน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และใช้ค่าสถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์การณ์จรของคราเมอร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และวิธีการของ ฟิชเชอร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้จากค่าแรงและเงินเดือน และมีรายจ่ายประเภทอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุด โดยมีรายได้เฉลี่ย 12,480.6 บาท ต่อเดือน และรายจ่ายเฉลี่ย 12,087.2 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยเล็กน้อย หนี้สินในระบบ 120,156.1 บาทต่อครัวเรือน ที่มาจากการกู้ยืมธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน ตามลำดับ และ หนี้สินนอกระบบ 14,595.99 บาทต่อครัวเรือน โดยวัตถุประสงค์การก่อหนี้ส่วนใหญ่ เพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายในการศึกษาของสมาชิก และลงทุนทำการ เกษตรและประมง ตามลำดับ

เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่มีความสัมพันธ์กับทิศทางการลดลงของ ผลผลิต การลดลงของรายได้ และการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ความสัมพันธ์เมื่อพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์การณ์จรของคราเมอร์ เท่ากับ ร้อยละ 17.0, 11.9 และ 13.6 ตามลำดับ และความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ความ ไม่สงบในพื้นที่กับระดับการลดลงของผลผลิต ระดับการลดลงของรายได้ และระดับ การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน เท่ากับร้อยละ 60.3, 51.3 และ 45.2 ตามลำดับ ขณะที่ การออมไม่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่

การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของครัวเรือน มีปัญหาภาพรวมในระดับมาก โดยกิจกรรมการแลกเปลี่ยนมีระดับปัญหามากกว่ากิจกรรมอื่น ผลการทดสอบความ แตกต่างเป็นรายคู่ระหว่างกลุ่มพื้นที่และระดับปัญหาการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ พบว่า ประเด็นปัญหาที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ณ ระดับ 0.05 คือ ปัญหาสินค้าราคาแพง รายได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค เงิน ทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอในการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่เพิ่มขึ้น และขาดตลาด รองรับผลผลิต โดยกลุ่มพื้นที่ซึ่งมีจำนวนครั้งของเหตุการณ์ความไม่สงบสูง มีค่าเฉลี่ย ของระดับปัญหาดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มพื้นที่อื่น

ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการวิจัย คือ ภาครัฐควรแสวงหาช่องทางในการเพิ่ม รายได้ โดยการสร้างงานหรืออาชีพเสริม การรวมกลุ่มอาชีพทางด้านการเกษตรและ ประมง การจัดระบบสวัสดิการสังคมรูปแบบพิเศษขึ้นเฉพาะพื้นที่ให้แก่ครัวเรือนซึ่งได้ รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารฮาลาล จัดตั้งศูนย์ประสานงานกับนักลงทุนจากในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มการ จ้างงานแก่ประชาชนในพื้นที่ และการขยายตัวของธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องทั้งต้นน้ำและ ปลายน้ำ ตลอดจนการเพิ่มบทบาทสถาบันการเงินของรัฐบาล สหกรณ์ และกองทุน หมู่บ้าน เพื่อรองรับความต้องการเงินทุน และปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบของภาคครัวเรือน

 

Household Economy in Pattani Province under the Southern Unrest

The objectives of this research were to investigate economic activities, structures of household income, expenditure, and debt, relationships between the southern agitated situation and changes in directions and levels of economic variables, and the difficulties in operating household economic activities. The data were collected from 408 households, based on Multi-Stage Sampling Method. ANOVA, Chi-square, Cramer’s V coefficient and Fisher’s Least Significant Difference Test were used to analyze the data.

The results indicated that the primary income sources of the sample households were from wages and salaries, and most of the income was spent on food and beverage. The average monthly income of the samples is 12,480.6 baht, which is slightly higher than their monthly expenditure, that is, 12,087.2 baht. The results also revealed each household debt, 120,156.1 baht, is the debt borrowed from organized sources, including commercial banks, Bank of Agriculture and Agricultural Cooperatives and Government Savings Bank of each household respectively, while 14,596 baht is the debt financed from unorganized sources. Most of the debt is spent on household consumption, educational support for family members, and agriculture and fishery investment, respectively.

The southern unrest situation is related to the directions of the decrease in productivity and average income and the increase in household debt at a significant level of 0.05 which equals 17.0%, 11.9% and 13.6% respectively under Cramer’s V Coefficient consideration. 60.3, 51.3 and 45.2 are the percentage of the relation between the crisis situation and the levels of the decrease in productivity and average income and the increase in debt respectively. On the other hand, there is no correlation between saving and the crisis situation.

Household economic activity operation has high level of difficulties generally. The highest level of difficulty goes on the exchanging activity. Fisher’s Least Significant Difference test on area and level of difficulties in economic activity operation discovers that expensive goods, insufficient income and capital investment, higher cost of transportation and insufficient markets show differences at a significant level of 0.05. The areas which repeatedly encounter the crisis have higher levels of difficulties than other areas.

According to the research, the government should provide more channels in raising the income by offering part-time jobs, combining agriculture and fishery occupations, organizing special social welfare for households affected by the crisis, supporting investment in Halal food, establishing coordination center with domestic and international investors to enlarge local people employment and expand other businesses as well as increasing roles of governmental financial institutions, cooperatives and village funds so as to support need for capital investment and restructure household’s debt from unorganized sources.

Downloads

How to Cite

สงสม อ. (2009). เศรษฐกิจของภาคครัวเรือนจังหวัดปัตตานี ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 5(2), 37–70. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85872