กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาเยอรมันของผู้เรียนไทยในภาคใต้

Authors

  • สุภาภรณ์ สุวรรณโอภาส ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

กลวิธีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และคำศัพท์ภาษาเยอรมัน, Foreign language learning strategies and German vocabulary

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเห็นทั่วไปในการเรียนภาษาเยอรมันและเพื่อศึกษากลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาเยอรมันของผู้เรียนไทย รวมทั้งศึกษาถึงความแตกต่างในการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาเยอรมันของผู้เรียนในระดับโรงเรียนและผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัยและเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงวิธีการสอนภาษาเยอรมันให้เหมาะสม

ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เรียนภาษาเยอรมันจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในเขตจังหวัดภาคใต้ ที่กาลังเรียนในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2550 จำนวนรวมทั้งสิ้น 257 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สอนคือแหล่งรวมความรู้ที่สำคัญอันดับหนึ่งและผู้สอนชาวไทยเป็นบุคคลที่ผู้เรียนจากโรงเรียนมักจะปรึกษามากที่สุดเมื่อมีปัญหาในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาเยอรมัน ส่วนผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยมักจะปรึกษาเพื่อนร่วมชั้นเรียนมากที่สุด 2)สาหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองส่วนใหญ่ผู้เรียนใช้เวลาทบทวนคำศัพท์ภาษาเยอรมันที่บ้าน 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และนอกจากสื่อการสอนที่เป็นแบบเรียนแล้วผู้เรียนจากโรงเรียนมักจะเรียนรู้คำศัพท์ภาษาเยอรมันในบทเพลงภาษาเยอรมันมากที่สุด ในขณะที่ผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยมักจะใช้การค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้มากที่สุด 3) ตามแนวคิดเรื่อง Foreign language learning strategies ของ Oxford (1990) ในการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ผู้เรียนจากโรงเรียนใช้กลวิธีการเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญา (Cognitive strategies) ในระดับบ่อย ส่วนผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยนอกจากใช้กลวิธี เชิงพุทธิปัญญา(Cognitive Strategies) ยังใช้กลวิธีการเรียนรู้ประเภท การเสริมและการทดแทน (Compensation strategies) ในระดับบ่อยเช่นกัน นอกจากนี้การหาความหมายจากพจนานุกรมเพื่อเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ผู้เรียนจากทั้งสองกลุ่มยังใช้พจนานุกรมภาษาเยอรมัน-ไทย/และไทย-เยอรมันอยู่ในระดับปานกลาง และหาความหมายและวิธีการใช้คำศัพท์ใหม่ภาษาเยอรมันจากพจนานุกรมภาษาเยอรมัน-เยอรมัน ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ในการจดจำคำศัพท์กลุ่มผู้เรียนในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยใช้กลวิธีเชิงพุทธิปัญญา (Cognitive strategies)กลวิธีการจดจา(Memory strategies)และเชิงอภิปัญญา (Metacognitive strategies) ในระดับบ่อย ส่วนการนำคำศัพท์ไปใช้ ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ใช้กลวิธี เชิงพุทธิปัญญา (Cognitive strategies) ในระดับบ่อย

 

Learning Strategies in German Vocabulary of Thai Learners in the South of Thailand

The purposes of this study was to examine idea for learning German and German vocabulary learning strategies of Thai learners in Southern Thailand and to study the differences in strategies used between high school learners and university learners. The results of this study would be used as basis for the improvement of German teaching methods. The subjects of study consisted of 257 Thai learners learning German in the first semester of the academic year 2007 in high schools and universities in the south of Thailand. A questionnaire on German vocabulary learning strategies was used as the research instrument. The findings of the study were as follows:

1. Both group of learners regarded teachers as their most important source of German knowledge. When encountering problems, high school learners preferred to consult Thai teachers while university learners liked to discuss them with their classmates.

2. As for self-study, most of the learners reviewed their German vocabulary 1 to3 times a week. Besides textbooks, high school learners improved their vocabulary by hearing German songs while most of the university learners used the internet as a source of vocabulary improvement.

3. Among Oxford’s foreign language learning strategies” of Oxford (1990), it was found that Cognitive strategies were the most popular strategies shared by learners from both groups for learning new words. Compensation strategies, however, was also frequently employed by university learners. The study further revealed that to find the meaning of new words and to use them bilingual dictionaries Thai-German/German-Thai were used at a moderate level by both groups while German-to –German dictionaries were used at the less to the least frequent level. For vocabulary memorization, both groups of learners frequently used Cognitive strategies, Memory strategies and Metacognitive strategies. Moreover, in using the vocabulary, Cognitive strategies for using vocabulary were often employed by both groups of learners.

Downloads

How to Cite

สุวรรณโอภาส ส. (2010). กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาเยอรมันของผู้เรียนไทยในภาคใต้. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 6(1), 257–288. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85844