“เกิดมาเป็นนักฆ่า” ความย้อนแย้งของภาพยนตร์หลังสมัยใหม่แห่งสหรัฐอเมริกา

Authors

  • บัณฑิต ไกรวิจิตร ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

การถอดรหัสและการใส่รหัสความหมาย, ความรุนแรงของภาพยนตร์หลังสมัยใหม่, วัฒนธรรมศึกษา, สื่อสารมวลชน, Cultural studies, Decoding/encoding, Natural Born Killers, Postmodern film, The violence of mass media

Abstract

บทความนี้ต้องการวิเคราะห์ภาพยนตร์ของผู้กำกับและผู้เขียนเรื่องชื่อดังของสหรัฐอเมริกาซึ่งสะท้อนปัญหาสังคมอเมริกา เรื่อง Natural Born Killers หรือ เกิดมาเป็นนักฆ่า ด้วยมุมมองทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาพยนตร์มีวิธีการเล่าเรื่องที่มีความแปลกใหม่ และเป็นตัวแทนของกระแสการสร้างภาพยนตร์ในแนว “ภาพยนตร์หลังสมัยใหม่” (postmodern film) ผู้สร้างภาพยนตร์วิพากษ์สื่อในยุคสมัยบริโภคนิยม(consumerism) ว่าสื่อได้สร้างผู้ชมมีคุณลักษณะใหม่ จากการเป็นผู้ซึมซับเอาความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงทางกายภาพจากการเป็นผู้ชม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน และต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งสื่อได้สร้างความผิดปกติให้แก่ประชาชนในสังคมของอเมริกัน สื่อชอบอธิบายว่าผู้ชมคล้ายกับกล่องรับข้อมูล ผู้ชมสังเคราะห์ข้อมูลอย่างซื่อๆ และมีความสามารถในการถ่ายทอด “สาร” ที่มาจาก “สื่อ” สู่คนรอบข้างได้ การพัฒนาความคิดของประชาชนในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสื่อเช่นนี้ มาถึงขั้นทำให้สังคมอเมริกันเพี้ยนมีอาการคลุ้มคลั่ง และเกิดการระเบิดอารมณ์ขึ้นมา จากภาพยนตร์เรื่อง “เกิดมาเป็นนักฆ่า” ได้กล่าวโทษว่าตัวละครเอกของเรื่อง คือ “ผู้ชม” พัฒนาตนเองไปเป็นนักฆ่า เพราะเรียนรู้ความรุนแรงผ่านทางสื่อสารมวลชน ผู้เขียนต้องการถกเถียงกับภาพตัวแทน (representation) ที่ผู้กำกับภาพยนตร์สร้างขึ้นในปัญหาหลายประการ คือ ผู้ชมไม่ใช่วัสดุรองรับข้อมูล แต่เป็นผู้ที่มีอำนาจในตัวเองเชิงสัมพัทธ์ (relatively autonomous) ซึ่งปฏิเสธคาอธิบายของผู้กากับภาพยนตร์เกิดมาเป็นนักฆ่า และต้องการถกเถียงในปัญหาเชิงซ้อนอันเกิดขึ้นมาจากภาพยนตร์เองว่า ภาพยนตร์วิจารณ์ความรุนแรงของสื่อสารมวลชน แต่สร้างความรุนแรงในสื่อที่วิจารณ์ความรุนแรง ในผลงานของตนเองจนล้นเกินความพอดี จึงเป็นปัญหาของความแย้งย้อน (irony) ของภาพตัวแทนที่ไม่สามารถหลุดพ้นจากสิ่งที่ตนเองปฏิเสธได้.

 

“Natural Born Killers” : The irony of postmodern film from The USA

This article analyses an American film, Natural Born Killers, through social scientific and humanistic perspectives. The film has an eccentric narration and is itself a sample of “postmodern film” current. It is a criticism of mass media culture in the age of consumerism, claiming that in the aforementioned age the media has created a specific kind of audience, namely, an audience born out of constant daily consumption of sexual and physical violence through mass media. Such consumption has eventually caused an abnormality of American people. Along this line of thought, the media itself usually deem an audience as passive receivers, who synthesize received messages straightforwardly, yet have, nonetheless, the capability to transmit the “message” received through the “media” to the world around themselves. An environment as such has finally brought American people to the point of madness and an explosion of the use of violence.

Natural Born Killers blames its main characters as “an audience” who learn to use the violence through mass media and have become killers themselves in the real world. I shall argue against such representation on two main points: firstly, an audience is not passive receivers, rather, they are relatively autonomous agents; secondly, although the film aims to critique the violence presented through mass media culture, it excessively - through itself - presents that same kind of violence, which renders an ironic problem of how it is impossible for a representation to escape from what it tries to reject.

Downloads

How to Cite

ไกรวิจิตร บ. (2010). “เกิดมาเป็นนักฆ่า” ความย้อนแย้งของภาพยนตร์หลังสมัยใหม่แห่งสหรัฐอเมริกา. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 6(1), 159–208. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85840