กามนิต พากย์ภาษาไทย : วรรณกรรมคำสอนเชิงมนุษยนิยมตามคติพุทธ

Authors

  • วรรณนะ หนูหมื่น ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

มนุษยนิยมตามคติพุทธ, วัฏสงสาร, Buddhist Humanism, cycle of existence

Abstract

กามนิตพากย์ภาษาไทยของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป แสดงแนวคิดสำคัญว่า หนทางแห่งความสุขสงบของปุถุชนตั้งอยู่บนรากฐานของการมุ่งมั่นพัฒนำปัญญา จนเรียนรู้ที่จะขจัดความลุ่มหลงในรัก โดยแสดงในโครงเรื่องที่สื่อความขัดแย้งระหว่างความหวังให้รักสมปรารถนาของกามนิตและ วาสิฏฐี กับจิตที่เป็นอิสระหลุดพ้นได้เมื่อรู้จักแปรความพิศวาสให้เป็นความเมตตาในฐานะกัลยาณมิตร ดังที่วาสิฏฐีช่วยอนุเคราะห์ชี้ทางดับความรุ่มร้อนให้แก่กามนิตภายหลังที่ตนรู้แจ้ง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อต้องพัฒนาปัญญาจนล่วงรู้ทางแก้ปัญหา หลักการตระหนักในศักยภาพตนเองเพื่อขจัดความเขลานี้เป็นแนวคิดมนุษยนิยมตามคติพุทธ ที่แฝงในการสร้างคู่เปรียบตัดกันระหว่างการบรรลุนิพพานมีญาณและจิตสงบของกามนิตและวาสิฏฐีบนสวรรค์ กับการเวียนว่ายในวัฏสงสารของปวงเทพที่ยังเขลาเพราะยึดติดในอิทธิฤทธิ์และสถานะจอมปลอม

 

Kamanita in Thai Version: Didactic Literature of Buddhist Humanism

Kamanita in Thai Version by Sathirakoses and Nagapradipa illustrates its main theme that ordinary people’s means to attain the peace of mind must be based on their determination to develop wisdom to the point of being able to rid themselves of a passionate love. The authors use the plot that denotes the conflict between Kamanita’s and Vasitthi’s expectation for consummate love with Vasitthi subsequent spiritual freedom after learning to transform a passionate love into a compassionate love and guiding Kamanita to do likewise. Moreover, this novel emphasizes that one can achieve enlightenment only through training his/her own mind until gaining wisdom to solve problems properly. This self-reliance principle of Buddhist Humanism is portrayed in the contrast of the existence in heaven of Kamanita and Vasitthi as divinities free of all attachments and characterized by celestial wisdom and peace with the struggling in cycle of existence of deities characterized by ignorance and attachments to illusions of magical power and status.

Downloads

How to Cite

หนูหมื่น ว. (2010). กามนิต พากย์ภาษาไทย : วรรณกรรมคำสอนเชิงมนุษยนิยมตามคติพุทธ. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 6(1), 137–158. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85837