การระบาดของความรุนแรงและการเยียวยาในชายแดนใต้กับทางแพร่ของระบาดวิทยา: โพสต์โมเดิร์น หรือ ระบาดวิทยานีโอคลาสสิก

Authors

  • วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เมตตา กูนิง ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

การบาดเจ็บ, การเยียวยา, ความรุนแรง, ระบบข้อมูลข่าวสาร, ระบบเฝ้าระวัง, ระบาดวิทยา, Epidemiology, Information Systems, Population Surveillance, Rehabilitation, Relief Work, Violence, Wounds and Injuries

Abstract

ระบาดวิทยา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการกระจายและปัจจัยของสถานะหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในประชากร รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ความเข้าใจทั่วไปอาจผูกติดระบาดวิทยาเข้ากับเรื่องโรคหรือความเจ็บป่วย ซึ่งกระบวนทัศน์เหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย เช่น เปลี่ยนจากการเน้นเรื่องการเฝ้าระวัง การสอบสวน และควบคุมโรคติดต่อในอดีต (ระบาดวิทยายุคคลาสสิค หรือ classical epidemiology) มาเป็นการเน้นเรื่องการหาปัจจัยเสี่ยงหรือการคัดกรองโรคไม่ติดต่อ (ระบาดวิทยาสมัยใหม่ หรือ modern epidemiology) จนกระทั่งปัจจุบัน การป้องกันรักษาโรคทั้งหลายมักมีเรื่องของพันธุกรรมศาสตร์มาเกี่ยวข้องสืบเนื่องจากมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพสูงขึ้น (ระบาดวิทยายุคหลังสมัยใหม่ หรือ postmodern epidemiology)

หากแต่ในยุคสหัสวรรษใหม่ ภัยคุกคามต่อมนุษยชาติได้เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคติดต่ออุบัติใหม่ ภาวะโรคร้อน ภัยพิบัติทั้งจากธรรมชาติและที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ ภาวะเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ นักระบาดวิทยาจะมีบทบาทและแนวทางรับมือกับปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนไปนี้อย่างไร

ตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ความรู้ทางระบาดวิทยากับปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยคุกคามแบบใหม่ คือ การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบบเฝ้าระวังดังกล่าวใช้หลักการทางระบาดวิทยาเพื่อทาความเข้าใจการกระจายและแนวโน้มของเหตุการณ์ความรุนแรงในมิติต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ บุคคล และมีจุดเด่นในการนาข้อมูลที่แยกจัดเก็บกระจายอยู่ในแหล่งต่าง ๆ (เช่น จากหน่วยงานของ ทหาร ตารวจ สื่อมวลชน) มารวมกัน มีการตรวจสอบความถูกต้องพร้อมวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ จนนามาสู่ระบบข้อมูลสาหรับใช้ร่วมกันทั้งประเทศของศูนย์ประสานงานวิชาการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) ระบบนี้ยังเชื่อมเข้ากับฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ นาไปกาหนดนโยบาย จัดสรรทรัพยากร ควบคุมป้องกันการบาดเจ็บ และติดตามช่วยเหลือเยียวยาผู้สูญเสียได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ระบาดวิทยาในสหัสวรรษใหม่จะเป็นไปในทิศทางใดคงไม่มีคาตอบที่ตายตัวหากแต่ยังคงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย สิ่งที่ท้าทาย คือ เราจะพัฒนากระบวนทัศน์ของระบาดวิทยา และจะบูรณาการระบาดวิทยาเข้ากับภูมิปัญญาของศาสตร์แขนงอื่น ๆ อย่างไรให้สามารถตอบสนองต่อปรากฏการณ์ที่สลับซับซ้อนในปัจจุบัน เช่น เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้

 

Epidemics of Violence and Relief in the Deep South and Epidemiology at the crossroads: postmodern or neoclassic epidemiology

Epidemiology is the study of the distribution and determinants of health-related states or events in specified populations, and the application of this study to control of health problems. The paradigm of epidemiology has changed over time, from a period of “classical epidemiology” which focused on the surveillance, outbreak investigation and controlling of communicable diseases to an ensuing period of “modern epidemiology” emphasizing on identifying risk factors and screening of non-communicable diseases. Until these days of “postmodern epidemiology”, advances of biotechnology have prompted many epidemiologists to deal with genetics researches in disease prevention and treatment.

Nonetheless, in this millennium, there have been several new threats to mankind such as emerging diseases, global warming and climate change, natural and man-made disasters. These threats tremendously affect people’s health in many aspects i.e. physical, psychological, social and spiritual. What role should epidemiologists have, and how will they tackle these evolving health problems?

One example of applying epidemiology to study and control the new health problems is the development of Violence-related Injury Surveillance System (VIS) in the Deep South of Thailand. This surveillance system used epidemiology to understand the nature of violence events in the conflicting areas. It has scrutinized the distribution of violence incidence as well as the trend in particular dimensions such as time, place and person attributes. The distinguished power of this system is its ability to consolidate a number of scattered data from various sources (such as military, police and the media) into one integrated database responsible by the Deep South Coordination Center where the data were subsequently validated and systematically analyzed. The database was also linked to many other databases of organizations to improve the coverage and effectiveness of the relief work for populations affected by the violence. In addition, the data from this system have been used in policy planning, resource allocation, and preventing and controlling violence-related injury.

The next direction of epidemiology cannot be simply predicted in this rapidly changing world. What challenges us is how to develop epidemiology, integrate it with other disciplines as the collective wisdom, to respond to the complex phenomena such as the current violence in Deep South of Thailand.

Downloads

How to Cite

ศรศรีวิชัย ว., & กูนิง เ. (2010). การระบาดของความรุนแรงและการเยียวยาในชายแดนใต้กับทางแพร่ของระบาดวิทยา: โพสต์โมเดิร์น หรือ ระบาดวิทยานีโอคลาสสิก. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 6(1), 5–22. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85831