การยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อการพัฒนาชุมชนของพัฒนากรในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

Authors

  • เอกสิทธิ์ เลาะมิง ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณิตา นิจจรัลกุล ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ชิดชนก เชิงเชาว์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

การยอมรับ, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พัฒนากร, Adoption, Information and communications technology, community development workers

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนของพัฒนากรในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง 2) เพื่อเปรียบเทียบการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารที่มีต่อการพัฒนาชุมชนของพัฒนากรในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ ตำแหน่ง และประสบการณ์อบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 3) เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะและแนวทางการส่ง เสริมการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยใช้การจัดการความรู้ และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

การวิจัยครั้งนี้เป็น 1) วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา จำนวน 207 คน เป็นพัฒนากรในสำนักงาน พัฒนาชุมชนอำเภอ 77 อำเภอ ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.921 และ 2) วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา เป็นหัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน ใน 7 จังหวัดภาคใต้ ตอนล่าง จำนวน 7 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่า t-test และ F-test

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

1. กระบวนการตัดสินใจการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อการพัฒนาชุมชนของพัฒนากร ในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง พบว่า กระบวนการตัดสินใจการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของพัฒนากร โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนสรุปได้คือ ขั้นการรับรู้ พัฒนากรมีความคิดเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมีประโยชน์ต่องานพัฒนาชุมชน ขั้นการจูงใจ พัฒนากรมีความกระตือรือร้นที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารมาใช้เพื่อการปฏิบัติงานในอนาคตมากขึ้น ขั้นการตัดสินใจ พัฒนากรมีความตั้งใจศึกษาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ของกรมการพัฒนาชุมชน ขั้นการปฏิบัติ พัฒนากรมีความสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ของกรมการพัฒนาชุมชน และ ขั้นการยืนยัน พัฒนากรติดตามข่าวสารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประจำ

2. การเปรียบเทียบการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อการพัฒนาชุมชนของพัฒนากรใน จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง พบว่า พัฒนากรที่มีอายุ ตำแหน่ง อายุราชการ และประสบการณ์อบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารโดยภาพรวมมีการยอมรับแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

3. การจัดการความรู้ พบว่า พัฒนากรมีการนำความรู้แฝงส่วนบุคคลและองค์กรมาจัดการความรู้และพัฒนาเพื่อ ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม รวบรวม ประมวล จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล และถ่ายทอดความรู้ ผ่านการ ประชุม การอบรม เว็บไซต์ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปเผยแพร่ต่อชุมชน

4. การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ พบว่า พัฒนากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร และเต็มใจที่จะเข้ารับการอบรม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรและระหว่างองค์กร โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ กับองค์กรและชุมชน

 

Adoption of Information and Communications Technology for Community Development of the Community Development Workers in the Lower Southern Provinces.

The purposes of this study were 1) to study the decision making process in adopting information and communications technology for community development of the community development workers in the lower southern provinces, 2) to compare the ICT adoption for community development of the community development workers in the lower southern provinces, according to gender, age, education, duration of work, position, and ICT training experience, and 3) to find out the suggestions and guidance for the adoption of information and communications technology by using knowledge management and learning organization. Both quantitative and qualitative research methods were employed in this study. For the quantitative research method, the questionnaire with a reliability value of 0.921 was used to collect data from the samples consisting of 207 community development workers from 77 Community Development District Offices in 7 lower southern provinces. For the qualitative research method, an interview was conducted with 7 leaders of the information for community development group in 7 lower southern provinces. Statistics used for analyzing data included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. The results were as follows:

1. The decision-making process of adopting ICT for community development was, on the whole, at a high level. In addition, an examination of separate stages yielded several conclusions. In perception stage, community development workers agreed that ICT was useful for community development tasks. In motivation stage, community development workers were enthusiastic about applying ICT to their jobs; In decision stage, community development workers were willing to study the use of package software of the community development department. In implementation stage, community development workers were capable of using the package software of the community development department. In confirmation stage, community development workers keep themselves updated with ICT news for community development;

2. The comparison on ICT adoption for community development of the community development workers in the lower southern provinces showed statistically significant differences among the community development workers of various age, working duration, position, and training at 0.5 level;

3. Regarding knowledge management, community development workers had applied their knowledge and organizational knowledge for developing new knowledge by participating, compiling, processing, storing database, and transferring the knowledge to the communities through conference, training, and website; and

4. For learning organization, community development workers exchanged their knowledge through the information and communications technology and were willing to receive training for knowledge sharing in the organization or among organizations, for benefits of the organization and the communities.

Downloads

How to Cite

เลาะมิง เ., นิจจรัลกุล ค., & เชิงเชาว์ ช. (2011). การยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อการพัฒนาชุมชนของพัฒนากรในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 7(2), 101–110. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85789