การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้บทเรียนแบบไฮเปอร์เควส

Authors

  • สันติ เส็นหมาน ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิชัย นภาพงศ์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ชิดชนก เชิงเชาว์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

การเรียนการสอน, ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง, ป่าชายเลน, ไฮเปอร์เควส, teaching, student-centered, mangrove forests, HyperQuest

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนแบบไฮเปอร์เควส เรื่อง ป่าชายเลน ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วย บทเรียนแบบไฮเปอร์เควส เรื่อง ป่าชายเลน กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) จำนวน 42 คน ดังนี้คือ กลุ่มตัวอย่างสำหรับทดลองรายบุคคลเพื่อปรับปรุงแก้ไขบท เรียนไฮเปอร์เควส จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่างสำหรับทดสอบหาประสิทธิภาพของบทเรียนไฮเปอร์เควส จำนวน 9 คน และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองภาคสนามเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลัง เรียนจากบทเรียนไฮเปอร์เควส จำนวน 30 คน จากนั้นนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็น อิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบไฮเปอร์เควส เรื่อง ป่าชายเลน มีประสิทธิภาพ 80.67/88.17 2) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนหลังจากที่เรียนด้วยบทเรียนแบบไฮเปอร์เควส เรื่อง ป่าชายเลน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05

 

Teaching Applying Student-Centered Method by Using HyperQuest Lesson

This research aims 1) to develop standardized HyperQuest lessons on the topic of mangrove forests (80/80) and 2) to compare students’ learning performances before and after the use of the lessons. Forty-two Mattayomsuksa 4 students from Demonstration School, Prince of Songkla University, enrolled in semester 2/2009, were selected and divided into 3 experimental groups by means of purposive sampling. A group of individual testing for the purpose of lesson development involved 3 students, a group for efficiency testing of the HyperQuest lessons comprised 9 students, and a field experimental group for comparing learning achievement before and after the use of the lessons consisted of 30 students. Dependent t-test was then used for data analysis. The results showed that the HyperQuest lessons on mangrove forests had a high efficiency level of 80.67/88.17, and students who were given HyperQuest lessons on mangrove forests had higher achievement after the lesson, at significant level of .05.

Downloads

How to Cite

เส็นหมาน ส., นภาพงศ์ ว., & เชิงเชาว์ ช. (2011). การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้บทเรียนแบบไฮเปอร์เควส. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 7(2), 93–100. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85775