การจัดการความขัดแย้งในชุมชนชายแดนใต้

Authors

  • นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง, ชุมชนชายแดนใต้, conflict resolution, Southern Border Community

Abstract

บทความวิชาการ เรื่อง “การจัดการความขัดแย้งในชุมชนชายแดนใต้” นี้มีความมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์ให้ เห็นว่า ความสัมพันธ์ในบริบททางสังคมของชุมชน ในการจัดการความขัดแย้ง มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กับการ สร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นภายในชุมชน ภายใต้ฐานการเรียนรู้ที่ใช้หลักคิดการสร้างองค์ความรู้จากทฤษฎีฐาน

รากฐานสำคัญของกระบวนการจัดการความขัดแย้งของชุมชนที่จะนำมาซึ่งความสมานฉันท์ คือ การสร้างความ สงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคม โดยการป้องกันแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง โดยใช้ฐานทุนทางสังคม (Social capital) และหลักจารีต วัฒนธรรม (Customary Laws) ที่แสดงออกในรูปแบบประวัติศาสตร์ความเป็นชุมชน โครงสร้างสถาบันทางสังคม ทุนทาง วัฒนธรรม การรวมกลุ่ม จารีต และการควบคุมทางสังคมของชุมชน โดยชุมชนได้การเรียนรู้ และพัฒนาจากประสบการณ์จริง ที่เกิดขึ้น ผ่านการกลั่นกรองจากการแก้ปัญหาเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ภายใต้ความต่าง กันทางด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตามกรอบความเชื่อของศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ที่มีแกนหลักของคำ สอนเหมือนกันคือ การสอนให้เป็นคนดีและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ผู้เขียนได้ใช้ฐานการวิเคราะห์จากประวัติศาสตร์ของชุมชนชายแดนใต้ กรณีข้อขัดแย้ง และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ภายในชุมชน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับฐานความรู้ทางด้านกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, 2545) ทำให้พบว่า กระบวนการจัดการความขัดแย้งของชุมชน แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ 1) การจัดการความขัดแย้งโดยองค์กร ชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการมัสยิด กลุ่มสตรีแม่บ้าน และกลุ่มงานทางด้านการพัฒนาชุมชน 2) การ จัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยโดยคนที่ชาวบ้านเชื่อถือ 3) การจัดการความขัดแย้งโดยการใช้กิจกรรมประสานใจ เป็นวิธีการที่จะทำให้คนที่ขัดแย้งกันหรือกลุ่มที่ขัดแย้งกันหันหน้าเข้าหากันได้ และ 4) การจัดการความขัดแย้งด้วยการหยุด เรื่องขัดแย้งดังกล่าว โดยไม่กล่าวถึง ลักษณะทั้ง 4 ประการนี้ได้มาจากฐานการคิด หรือภูมิปัญญาของชุมชนที่เรียกว่า “การ ปาก๊ะ” หรือวิธีการที่สร้างคนให้เกิดความสมานฉันท์ ร่วมมือร่วมใจกันที่จะทำในสิ่งต่าง ๆให้เกิดความสำเร็จ การปาก๊ะ เน้น กระบวนการพูดคุยเพื่อให้เกิดความคิดในสิ่งที่เราจะทำ โดยต้องใช้การรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน หาข้อสรุปร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน อันจะนำมาซึ่งผลสำเร็จของการทำงาน หรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชนอย่างสมานฉันท์

จากการศึกษายังพบว่า การส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของชุมชน ในการนำทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ทุนทาง สังคม ทุนทางวัฒนธรรม กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการความขัดแย้งของชุมชนชายแดนใต้ ควรดำเนินการดังนี้

1. สร้างความเข้าใจวัฒนธรรมและบริบทของชุมชน ควรผ่านการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชน การใช้ประโยชน์ การร่วมดูแลรักษาฐานทรัพยากรของชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อปากท้องและความอยู่รอดของชุมชน

2. ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเชื่อมั่นในความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง โดยถือเป็นคุณค่าร่วม (core value)

3. องค์กรส่วนท้องถิ่นควรจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์ประสานงานของชุมชนในการจัดการความขัดแย้ง

4. ภาครัฐควรจะสร้างนโยบายและแผนการการทำงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และนำเอาความสามารถ ของชุมชนในการจัดการความขัดแย้ง และปัญหาตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของชุมชนมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งสนับสนุน ให้ชุมชนเกิดการพัฒนากระบวนการจัดการความขัดแย้งให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

 

Conflict resolution of The Community in Southern Border

This article aims at analyzing the relationship between social relationship among community members for dispute resolution and the establishment of harmony in the community. The study was conducted under the conceptual framework on the ground theory.

The results of the study show that the basis of community dispute resolution process that leads to a harmonious community is peace-making plan that focuses on prevention and resolution activities within the community. Such plan is well designed through the utilization of the community resources such as the community social capital and the community customary laws. These community resources are present in the history, structures of social institutions, cultural heritages, organizations, customs, and social control measures of the community. The community utilizes these resources through the process of socialization developed from direct experiences of its members. The community members are able to solve disputes among themselves in order to maintain the community order. The dispute resolution process can take place in a multicultural community, among members within the community, either Buddhists or Muslims, who share similar community values on peaceful living.

An analysis of the history of southern border community concerning the problems and conflicts and a comparison with the restorative justice disciplines point to at least four major models of the dispute resolutions that have been practiced in the community. These models include 1) dispute resolutions through community organizations such as the community committee, the Mosque committee, the women organizations, and the community development organizations, 2) dispute resolutions through mediation by highly respected people in the community, 3) dispute resolutions through the community reparative and reintegrative activities among the dispute parties, and 4) dispute resolutions by withdrawal from the discussion of the issues. The four models have been derived from the local community wisdom called “Pakah”, the method to raise harmony among the community members. “Pakah” method focuses on discussion to find ways to solve the problems and to find common solutions through listening to all members involved. According to the study, the successful use of the community resources, social capital, cultural heritage, and the community socialization processes for dispute resolutions entails the following conditions:

1. understanding among the community members of the cultural and community context through the community history, sustaining the utilization and protection of the community resources to maintain the community cohesion;

2. the community confidence in their dispute resolution capacity, which should be regarded as the core value of the community;

3. the coordination of the local government organizations as the major role in the dispute resolution processes; and

4. policies and plans to encourage community participation in dispute resolution and development of processes for more effectiveness.

Downloads

How to Cite

อรุณเบิกฟ้า น. (2011). การจัดการความขัดแย้งในชุมชนชายแดนใต้. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 7(2), 77–92. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85771