สตรีไทยมุสลิมกับอาชีพพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2505 – 2550
Keywords:
สตรีไทยมุสลิม, อาชีพพยาบาล, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, Thai-Muslim Women, Nursing Profession, Three Southern Border ProvincesAbstract
งานวิจัยเรื่องสตรีไทยมุสลิมกับอาชีพพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2505 – 2550 ฉบับนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพสตรีไทยมุสลิม ในแง่การแสวงหาโอกาสในชีวิตนอกบ้านด้วยการประกอบอาชีพนาง พยาบาล โดยใช้วิธีการวิจัยในเชิงประวัติศาสตร์คือศึกษาผ่านข้อมูลประเภทเอกสารและข้อมูลมุขปาฐะจากภาคสนาม และ นำเสนอสาระตามมิติของประวัติศาสตร์เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในสถานภาพของสตรีไทยมุสลิมจากอาชีพดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า สตรีไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ วิถีชีวิตที่อยู่ภายใต้จารีตประเพณีทางศาสนาที่เป็น บรรทัดฐานสังคมซึ่งกำหนดให้ผู้หญิงต้องมีคุณสมบัติเป็นเมีย แม่ และลูกสาวที่ดี พร้อมๆกับให้สตรีสามารถเรียน รู้วิทางการต่างๆได้ แต่สตรีส่วนใหญ่ก็มักจะเรียนรู้ในทางศาสนาและเรียนจบเพียงภาคบังคับเป็นหลักเท่านั้น ต่อ มาเมื่อการศึกษาในระบบได้ขยายตัวมากขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดตั้งสถาบันการศึกษาหลาย แห่ง ส่งผลให้การเรียนต่อในสาขาวิชาชีพพยาบาลได้รับความสนใจจากสตรีไทยมุสลิมในพื้นที่มากขึ้น และขยาย ตัวอย่างต่อเนื่องตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการจัดตั้งวิทยาลัยพยาบาลที่จังหวัดยะลาและนราธิวาสการที่อาชีพพยาบาลได้รับความสนใจจากสตรีไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ค่อนข้างมากนั้น ผล การศึกษาได้พบว่า เกิดจากปัจจัยภายนอกคือ การสนับสนุนการศึกษาดังกล่าวของภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุข และการขาดแคลนนางพยาบาลในพื้นที่ ในขณะที่ปัจจัยภายในนั้นเป็นผลมาจากการประกอบอาชีพดังกล่าวไม่ ขัดกับหลักศาสนา ทั้งเป็นอาชีพที่มีเกียรติในฐานะการสร้างความต่อเนื่องในบทบาทแม่ การประกอบอาชีพนาง พยาบาลจึงมีความมั่นคงในชีวิตสูง เป็นที่ยอมรับจากสังคมจนนำมาซึ่งความภาคภูมิใจในวิชาชีพเป็นอันมาก
Thai-Muslim Women and Nursing Profession in Three Southern Border Provinces of Thailand during 1962 - 2007
This research aims to study the status of Thai Muslim women during 1962 – 2007 in relation to opportunity seeking of life outside homes by being nurses. Historical research methodology was used for data collection, including documentary research and oral traditions research. The data was then presented in the historical dimension in order to see changes of their status through that profession.
The ways of life of Thai-Muslim women in the three southern border provinces of Thailand are influenced by religious customs perceived as social norm, which require them to contain qualifications of being good wives, mothers, and daughters. At the same time, they are allowed for academic pursuit as well. However, most of them gained religious knowledge and completed only compulsory education. Later, the expansion of formal education and the establishment of educational institutions in the three southern border provinces of Thailand gave rise to their attention in higher education. In particular, the establishment of nursing colleges in Yala and Narathiwas brought them an interest in pursuing nursing education. According to the study, this interest was influenced by both external and internal factors. The external factor was the educational support from the government with the purpose to solve problems regarding public health and nursing shortage in the areas. The internal factor was the fact that the nursing profession does not go against their religion. They considered being a nurse prestige as it created continuity of a mother’s role. Besides, nursing profession was rated a highly stable career and was socially accepted. It provided them with pride in life.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี