วัจนลีลาในบทไว้อาลัยผู้วายชนม์ของ ขรรค์ชัย บุนปาน
Keywords:
วัจนลีลา, บทไว้อาลัยผู้วายชนม์, styles, eulogiesAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีในการนำเสนอเนื้อหาและการใช้ภาษาที่แสดงให้เห็นวัจนลีลาของ ขรรค์ชัย บุนปาน ในบทความไว้อาลัยผู้วายชนม์ ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือ “ประดับไว้ในโลกา” จำนวน 39 บทความผลการวิจัยพบว่า บทความไว้อาลัยผู้วายชนม์ของขรรค์ชัย บุนปาน ใช้กลวิธีในการนำเสนอเนื้อหา โดยตั้งชื่อเรื่อง ด้วยการใช้คำแสดงความรู้สึกอาลัยอาวรณ์และคำเรียกขานแสดงความเคารพนับถือนำหน้าชื่อผู้วายชนม์ รวมทั้งใช้ข้อความที่ชี้ ประเด็นความคิดหลักของเรื่อง เพื่อจูงใจผู้อ่าน ใช้โคลงกระทู้ การเท้าความ และอ้างอิงเอกสารหรือข้อมูลในส่วนความนำ เพื่อ สร้างความน่าเชื่อถือและโน้มน้าวให้ผู้อ่านสนใจติดตามเนื้อเรื่อง ดำเนินเรื่องตามลำดับเวลา เหตุการณ์ และตามความสำคัญ ของเรื่อง เพื่อความต่อเนื่องและสอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังใช้การขยายความประเด็นหลักด้วยการยกตัวอย่างสถานการณ์ ที่แสดงให้เห็นความผูกพันใกล้ชิดของผู้เขียนกับผู้วายชนม์ การแยกย่อยองค์ประกอบสำคัญที่แสดงคุณสมบัติของผู้วายชนม์ และอ้างอิงเอกสารหรือข้อมูล เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านติดตามเรื่องราวชีวิตของผู้วายชนม์ในแง่มุมอื่น ๆ สรุปเรื่องด้วย การแสดง แนวคิด ตั้งคำถามให้ผู้อ่านขบคิด ใช้คำคม ย้ำให้เห็นประเด็นสำคัญ และใช้คำหรือข้อความที่ขัดแย้งกับชื่อเรื่อง เพื่อให้ข้อคิด และเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ในส่วนของการใช้ภาษา ขรรค์ชัย บุนปาน ใช้ภาษาระดับกึ่งแบบแผนกับภาษาปาก หรือใช้ภาษาพูด เพื่อสร้างความ เป็นกันเอง ใช้คำแสดงภาพ ให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ คำสื่อความหมายโดยนัย เพื่อให้ผู้อ่านคิดใคร่ครวญ หาความหมายที่แท้จริง และใช้คำบ่งชี้คุณสมบัติของบุคคล เพื่อยกย่องผู้วายชนม์ ใช้ประโยคปฏิเสธ เพื่อแสดงความคิดที่ไม่ สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่กล่าวถึง ใช้ประโยคคำสั่ง เพื่อเน้นให้ตระหนักในสิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติ ใช้ประโยคคำถาม เพื่อยั่วยุ ให้คิดหาคำตอบในประเด็นของการดำรงชีวิต และประชดประชัน ล้อเลียนพฤติกรรมของบุคคล การใช้โวหารภาพพจน์ ผู้เขียน ใช้อุปมาและอุปลักษณ์ เปรียบเทียบสิ่งที่เป็นนามธรรมกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดภาพในมโนทัศน์แล้วย้อนกลับมาทบทวน ความหมายของนามธรรม ใช้โวหารบุคคลวัต เพื่อสื่อความรู้สึกสูญเสียของบุคคล โวหารสัทพจน์ เพื่อเชื่อมโยงกับคุณสมบัติ ของผู้วายชนม์ โวหารอติพจน์ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นคุณลักษณะอันควรแก่การยกย่องของผู้วายชนม์และโวหารปฏิทรรศน์ เพื่อแสดงคุณสมบัติของผู้วายชนม์และแสดงทรรศนะของผู้เขียนในการดำรงชีวิต
เมื่อวิเคราะห์กลวิธีในการนำเสนอเนื้อหาและการใช้ภาษาที่แสดงให้เห็นลีลาอันเป็นลักษณะเฉพาะของขรรค์ชัย บุนปาน แล้วยังพบว่า บทความไว้อาลัยผู้วายชนม์มีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นวัตรปฏิบัติของผู้วายชนม์ในแง่มุมของการดำรงชีวิตและ การประกอบอาชีพ ได้แก่ หลักธรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงตระหนัก คุณธรรมในการประกอบอาชีพ และคุณธรรมในการดำรงชีวิต อีกด้วย
Style Used in Khanchai Bunparn’s Eulogies.
This research examines the method of presentation of contents and the use of language in Khanchai Bunparn’s 39 elegies published in “Adorned in the World”.
To capture readers’ attention and interest, Khanchai Bunparn entitles his elegies by using mournful expressions and reverential terms for the deceased, thematic statements, topical poems, and allusion. His stories are also presented in chronological order and according to the significance of the events that took place in the stories. Several incidents are included to show his close relationship with the deceased. Detailed accounts of the dead portray their lives in various aspects. In his conclusion, Khanchai Bunparn raises conceptual and thought-provoking questions to highlight important matters, and uses words or phrases conflicting with the elegiac titles to provide insights and guidelines for living. In terms of language use, Khanchai Bunparn uses semi-structured language and spoken language to create familiarity with his readers, images to make readers feel part of the events, and implications to involve readers in the search of true meaning. Moreover, he uses negative sentences to express conflicting ideas, imperative sentences to suggest things we should and should not do, and questions to provoke deep thoughts about issues of life and to mock individuals’ behaviors. Likewise, the author uses simile and metaphor to compare abstract and concrete ideas, to encourage conceptual understanding, personification to convey the feeling of loss, onomatopoeia as reference to the deceased, hyperbole to honor them, and paradox to display the author’s points of view regarding living. In short, through his stylistic presentation of his elegies, Khanchai Bunparn provides concepts of living, especially Dharmic principles and work and living ethics.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี