ลักษณะเด่นของนวนิยายรักร่วมเพศไทย พ.ศ. 2548-2552 : แนวคิดสำคัญกับกลศิลป์ ที่สื่อความหมายบทประพันธ์
Keywords:
การเมืองเรื่องอัตลักษณ์, ความเป็นธรรมเชิงวรรณศิลป์, ความเป็นหลังสมัยใหม่, นวนิยายรักร่วมเพศไทย, identity politics, poetic justice, postmodernism, Thai novels on homosexualityAbstract
บทความวิจัยนี้มุ่งค้นหาลักษณะเด่นของนวนิยายรักร่วมเพศไทย พ.ศ.2548-2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ปรากฏ ความหลากหลายทางเพศสถานะของผู้แต่ง โดยผลงานในขอบเขตการศึกษาประกอบด้วยนวนิยายของผู้แต่งชายและหญิง 3 เรื่อง คือม่านนางรำ (2551) พระจันทร์สีรุ้ง (2549) สวรรค์ปิด (2551) และนวนิยายของผู้แต่งเกย์กับเลสเบี้ยน 3 เรื่องคือ สุดปลายสะพาน (2550) ดอกไม้เปลี่ยนสี (2548) ไม่มีสักวันที่ฉันไม่รักเธอ (2552)ผลการพินิจเงื่อนไขทางเพศสภาพของผู้แต่งพบนัยสำคัญว่า ผู้แต่งชายหญิงจัดเป็น “คนนอก” ที่สื่อทัศนะเชิงลบต่อ รักร่วมเพศ อันได้รับอิทธิพลจากบรรทัดฐานสังคม ส่วนผู้แต่งเกย์กับเลสเบี้ยนจัดเป็น “คนใน” พื้นที่รักร่วมเพศที่โต้แย้งแนวคิด ความสัมพันธ์ชายหญิงภาคบังคับในระบบจารีตสารัตถนิยมทางเพศ การปะทะทางความคิดดังกล่าวทำให้เห็นประเด็นการเมือง เรื่องอัตลักษณ์ อันมีแรงผลักดันจากความต่างทางเพศสถานะที่เด่นชัดเป็นครั้งแรก โดยปรากฏการณ์แห่งการถกเถียงรวมถึง การรื้อถอนนิยามดั้งเดิมต่อรักร่วมเพศ นอกจากแสดงจุดเริ่มต้นของความเป็นหลังสมัยใหม่ของนวนิยายรักร่วมเพศไทย หลักการศึกษาที่ปรับมุมมองการพิจารณาใหม่ อันเป็นวิธีเฉพาะของการวิเคราะห์วรรณกรรมชายขอบที่เพ่งพินิจ “เสียง”และ“ตัว ตน” ของตัวเอก ก็พบแนวคิดสำคัญของชุดความหมายแบบขั้วตรงข้าม ดังนี้
นวนิยายของผู้แต่งชายหญิงได้ซึมซับทัศนะของสังคมกระแสหลัก โดยแสดงนัยผ่านองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง ที่แม้เปิดโอกาสให้รักร่วมเพศได้แสดงตัว แต่ความคิดเห็นที่ถูกปฏิเสธ ก็ย้ำปฏิทรรศน์ของความไม่มีสิทธิ์ในสังคม ตัวตน จึงถูกข่มเหงด้วยความรุนแรงเชิงโครงสร้าง อันสะท้อนด้วยอุปลักษณ์เชิงพื้นที่ในแนวคิดของการมีสภาพเป็นอาณานิคมและ ต้องพลัดถิ่น โดยนอกจากอัตลักษณ์แตกสลาย ความตายที่กำหนดเป็นแก่นเรื่องยังอ้างอิงอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของกรรมเก่า เป็นตัวกำกับชะตาที่มีความชอบธรรมรองรับ ขณะที่ความมหัศจรรย์ใน นวนิยายของผู้แต่งเกย์กับเลสเบี้ยน กลับเป็นกลวิธี ที่ทำหน้าที่เรียกร้องให้เพ่งพินิจมิติทางจิตวิญาณของรักร่วมเพศ โดยแม้การเติมต่อพลังชีวิตที่ถูกสร้างเป็นแก่นเรื่อง จะดำเนิน ผ่านพื้นที่ความทรงจำของตัวเอก แต่ภาวะความเงียบที่เน้นในการเล่าเรื่อง นอกจากเป็นยุทธวิธีซ่อนเร้นความเคลื่อนไหวของ ตัวเอกไม่ให้ถูกสังคมต่อต้านอย่างรุนแรง ผู้แต่งเกย์กับเลสเบี้ยนยังอาศัยความแยบคายนี้เป็นกลยุทธจู่โจมอุดมการณ์ปิตาธิปไตย และระบบความสัมพันธ์ชายหญิงภาคบังคับ
แก่นสารของความเป็นธรรมเชิงวรรณศิลป์ที่สังเคราะห์ได้จากแนวคิดสำคัญของชุดความหมายแบบขั้วตรงข้าม ในนวนิยายทั้งสองกลุ่มคือ ข้อปะทะที่กระตุ้นให้ใคร่ครวญว่าเพศสภาวะไม่ใช่ต้นตอที่สร้างความสั่นคลอนต่อสถานะความเป็น มนุษย์ แต่อุดมการณ์ในวาทกรรมหลักที่ชี้นำสังคมต่างหากที่มีอิทธิพลต่อวิธีคิดให้เลือกปฏิบัติเป็นสองมาตรฐาน โดยนัยนี้ก็จะ ได้ย้อนไปตรวจสอบคตินิยมสังคมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อชีวิต พร้อมกับที่สร้างวิจารณญาณในการพินิจถึงแก่นแท้ความเป็นมนุษย์
The Distinct Features of Thai Novels on Homosexuality during 2005-2009 : Major Themes and Literary Techniques
This article explores the distinct features of Thai novels on homosexuality, published during the years 2005 – 2009, the period that witnesses the emerging variety of author’s gender. The novels under investigation include one novel by a male author, Maan Nang Rum (2008), two novels written by a female author, Pra Jan Si Roong (2006) and Sawan Pid (2008), one novel by a gay author, Sud Plai Sapan (2007), and two novels by a lesbian author, Dok Mai Plian Si (2005) and Mai Mee Suk Wan Ti Chan Mai Ruk Ter (2009).
Regarding gender, while male and female authors are considered to be “outsiders,” their works an embodiment of deeply-rooted negative attitudes toward homosexuals in society, gay and lesbian authors regard themselves as “insiders,” and their works as defiance against compulsory heterosexuality according to sexual essentialism. A discord in perception clearly points out identity politics resulting from different genders. The prevalence of controversial issue, including an attempt to redefine the meaning of homosexuality by gay and lesbian authors, marks the beginning of postmodernism of Thai novels on homosexuality. In addition, an investigation by means of revisionary project that seeks to penetrate into the “voice” and “self” of central characters reveals major themes concerning binary opposition.
In the novels by male and female authors, mainstream attitudes toward homosexuality are depicted in the narration in which although the homosexuals are given opportunity for self-expression, their opinions are rejected. Here a paradox lies in a denial of their “voice, ” a negation of their rights in society. Structural violence afflicting the homosexual’ s self is also revealed in the form of spatial metaphor, i.e. colonization and diaspora. Apart from identity crisis, death is a recurrent motif in the mainstream novels on homosexuality that justifies the omnipotent command of past deeds over human destiny.
Gay and lesbian authors, on the other hand, explore the spiritual aspect of the homosexuals through the use of miracles. In their novels, life force enhancing is a thematic concern presented via the main characters’ recollection, and a subdued narrative is a strategy wisely used by the authors to prevent their characters from social antagonism and to criticize patriarchal ideology and compulsory heterosexuality as well.
In conclusion, the presentation of binary opposition in the novels on homosexuality of both groups of authors apparently bestows poetic justice for reconsideration of the controversial issue. There remains the need for careful investigation into the true meaning of humanity, particularly the genuine cause of its imperfection. Clearly, gender is not accountable for the blemish; it is rather the overbearing hegemonic discourse that gives rise to a double-standard practice in society. Therefore, intimidating social ideology should be reexamined, and the true meaning of humanity should be realized.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี