วัฒนธรรมชาวสวนยางพาราท่ามกลางกระแสทุนนิยม : ชุมชนไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • สุธิรา ชัยรักษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Keywords:

วัฒนธรรม, ชาวสวนยางพารา, กระแสทุนนิยม, การปรับตัว, ศักยภาพชุมชน, การพึ่งตนเอง, Culture, Para Rubber Planters, Capitalism, Adaptation, Potential, Relying on Oneself

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการดำรงชีวิตของชาวสวนยางพารา การปรับตัวของชุมชน ชาวสวนยางพาราท่ามกลางกระแสทุน การพัฒนาศักยภาพ แนวโน้มของชุมชนชาวสวนยางพารา และ ทางเลือกในการสร้างความเข้มแข็งชาวสวนยางพารา ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

การศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตและบริบทของชุมชนแบ่งเป็น 2 ช่วง คือก่อนปี พ.ศ. 2504 อันเป็นวิถีวัฒนธรรมชุมชนแบบการเกษตรดั้งเดิม ครอบครัวและชุมชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน มีความคิดความเชื่อของชุมชนไม้เรียงจะผูกโยงอยู่กับสิ่งเหนือธรรมชาติและหลักธรรมคำสอนในศาสนา และ ช่วงปีพ.ศ. 2504- ปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) เป็นช่วงที่ชุมชนมีการพัฒนาปรับโครงสร้างด้านต่าง ๆ ความ สัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบครัวและชุมชนลดลง เปลี่ยนวิถีการเกษตรดั้งเดิมเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นการผลิต เพื่อจำหน่ายป้อนภาคอุตสาหกรรม ความคิดความเชื่อค่านิยม และความทันสมัยต่าง ๆ จากภายนอกเข้าสู่ ชุมชน สำหรับการปรับตัวของการทำชาวสวนยางพารานั้นแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ก่อนปี พ.ศ. 2504 ชุมชน ชาวสวนยางพารากับวิถีการผลิตแบบพอเพียง พึ่งพิงธรรมชาติ และใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนเป็นสำคัญ ต่อ มาในช่วง พ.ศ. 2504 – 2540 จากเหตุการณ์วาตภัยในพื้นที่ในปี พ.ศ. 2505 เป็นจุดเปลี่ยนของชุมชนใน หลายด้าน ชาวบ้านมุ่งทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก อาศัยปัจจัยการผลิตจากภายนอกชุมชนแทบทั้งหมด ชุมชนได้เข้าสู่ตลาดทุนอย่างเต็มตัว และในช่วงปีพ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2553 เป็นช่วงชาวสวนยางพาราไม้เรียง ปรับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจชุมชน ลดการพึ่งพิงภายนอก จัดกิจกรรมเสริมรายได้และสร้างอาชีพเสริมในชุมชน ยกระดับองค์ความรู้และภูมิปัญญาในชุมชน การพัฒนาศักยภาพของชุมชนชาวสวนยางพาราไม้เรียงมุ่ง การรวมกลุ่มในการแก้ปัญหาราคายางพาราโดยการพัฒนาคุณภาพยางพาราและปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนมี การ จัดทำแผนแม่บทชุมชน ใช้และสร้างสรรค์ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเป็นทุน จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนา ชุมชนไม้เรียง รวมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับต่างชุมชนทั้งในภาคใต้และภาคอื่นๆ แนวโน้มจะมีชุมชน ชาวสวนยางพารามากขึ้นเนื่องจากมีการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศ มีการ บุกรุกพื้นที่ทำลายความสมดุลของระบบนิเวศเพื่อใช้ปลูกยางพาราเป็นไปอย่างกว้างขวาง ชาวสวนยางพารา ได้พัฒนา การเพิ่มผลผลิตน้ำยางพาราต่อไร่และพัฒนาคุณภาพยางแผ่นดิบเพื่อแข่งขันในตลาดโลก และ ในแต่ละชุมชนควรมีโรงงานแปรรูปยางพาราในชุมชนไว้รองรับปริมาณยางล้นตลาด สำหรับแน้วโน้มของ ไม้เรียงนั้นจะมีการคิดค้นและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาคุณภาพยางพาราและพัฒนาระบบ การตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่วนทางเลือกในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนชาวสวนยางพาราและชุมชนภาค การเกษตรอื่น ๆ สมาชิกในชุมชนได้ร่วมกันเรียนรู้ปัญหาเกี่ยวกับผลผลิตภาคการเกษตรในชุมชน ร่วม คิด ร่วมทำ ร่วมนำ ร่วมประสาน ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขพัฒนาชุมชนที่ชัดเจน ลดการพึ่งพิง จากภายนอก ขับเคลื่อนชุมชนตนเองจากองค์ความรู้ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนเป็นหลัก มีกระบวนการปฏิบัติตามหลักการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ภายใต้ฐานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

Rubber Planter’ s Culture amidst Capitalism : Mai Riang Community Chawang District, Nakhon Sri Thammarat Povince

This research aimed to investigate the ways of life of the para rubber planters, adjustment of the rubber planters community facing capitalism, development of the rubber planters community’s potential, trends of the community, and alternatives to the community strengthening. Mixed methods to conduct the research.

The study of ways of life and context of the community was divided into 2 stages : prior to 1961 representing traditional agricultural community culture in which a family and the community had a close relationship, believed in supernatural powers and religious principles; and during 1961 – the present (2011) in which the community has been undergoing restructuring the relationships between a family and the community has been weakened, traditional agriculture has been changed to production for serving industry, the community has been influenced by external values. The study of the adaptation of rubber planters was categorized into 3 stages: prior 1961, during 1961-1997, and during 1997-2011. Prior to 1961, the rubber planter community was closely related to the sufficient production. They relied on the nature and primarily utilized local resources. During the second stage, the great storm happened in 1962 was a turning point in many aspects. The main occupation of the villagers was rubber plantation. They depended entirely on outside community’s production factors. The community willingly headed to the industrial market. Finally, during 1997-2010, Mai Riang rubber planters have developed towards cooperatives in order to deal with the problems of rubber value and the community’s economy. The community master plan was created. Local resources have been used as the major capital. The Mai Riang Centre of Study and Development including learning networks were established in cooperation with communities in the South and other regions. In the future, the rubber planter community tends to extend rubber plantation sites. There will be an increasing number of rubber planter communities nationwide. Moreover, an invasion and destruction of ecology to rubber plantation will become more severe. Rubber planters need to improve the quality and quantity of latex in one rai in order to compete in the world market. Alternatives to the community or other agricultural sections strengthening discovered from this study were that the community members have to learn the problems of their own community. Together, they must think, cooperate, and create the precise developmental strategies of the community. It is necessary that the community is less dependent to the outside, moves forward relying on local knowledge and wisdom, clings on to the principle of understanding, approaching, and developing according to the sufficient economy for the sustainable development.

Downloads

How to Cite

ชัยรักษา ส. (2012). วัฒนธรรมชาวสวนยางพาราท่ามกลางกระแสทุนนิยม : ชุมชนไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 8(2), 137–156. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85752