แบบจำลองเชิงพื้นที่เพื่อประเมินความเหมาะสมการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรม กรณีศึกษาบริเวณลุ่มน้ำปัตตานีตอนล่าง

Authors

  • วุฒิพงษ์ แสงมณี ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, การรับรู้จากระยะไกล, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, จังหวัดปัตตานี, ลุ่มน้ำปัตตานี, GIS, Remote Sensing, Land Use Planning, Pattani Province, Pattani Basin

Abstract

บทความวิจัยนี้เป็นการสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่เพื่อประเมินความเหมาะสมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านเกษตรกรรมบริเวณลุ่มน้ำปัตตานีตอนล่างและพื้นที่ข้างเคียงในเขตจังหวัดปัตตานี ใช้หลักการบูรณา การและเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง อาทิ การแปลความหมายข้อมูลการรับรู้จากระยะไกลทั้งภาพถ่าย ทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม Landsat TM และ Spot 5 การสำรวจภาคสนาม ข้อมูลหน่วยที่ดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน ข้อมูลการใช้ที่ดินและราคาสินค้าเกษตรจากสำนักงานเกษตรอำเภอ ข้อมูลลักษณะ ทางประชากรจากเอกสารรายงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปัตตานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประเมินความเหมาะสมและจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ ด้วยเทคนิคการกำหนดค่าน้ำหนักและการซ้อนทับข้อมูล โดยปัจจัยทางกายภาพใช้หลักเกณฑ์ของกรม พัฒนาที่ดิน และปัจจัยทางเศรษฐกิจใช้ข้อมูลต้นทุนการผลิตพืชเศรษฐกิจหลัก 4 ชนิด ได้แก่ นาข้าว ยางพารา ไม้ผลผสมและมะพร้าวจากกลุ่มตัวอย่าง 60 ครัวเรือนนำมาวิเคราะห์จำแนกระดับรายได้ ต้นทุน ผันแปร ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนผันแปร จากนั้นนำผลประเมิน ทั้ง 2 ปัจจัยมากำหนดค่าน้ำหนักร่วมกันและแปลผลคะแนนความเหมาะสมจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่หรือจำนวน 225,223.20 ไร่ (ร้อยละ 67. 80) มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านเกษตรกรรมสอดคล้องตามสภาพทางกายภาพของหน่วยที่ดิน และให้ผลตอบแทนในระดับที่พอเพียงต่อ การยังชีพ ส่วนการใช้ที่ดินในระดับไม่เหมาะสม มีจำนวน 62,406.88 ไร่ (ร้อยละ 18.79) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการ เปลี่ยนแปลงจากพื้นที่นาข้าวเป็นพื้นที่ยางพารา แบบจำลองที่ได้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนในเชิงการ กำหนดนโยบายส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมให้เหมาะสมกับศักยภาพของหน่วย ที่ดิน โดยแนวทางการส่งเสริมควรเน้นที่การจัดการแปลงพื้นที่การเกษตร ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพของดิน ความรู้และเทคโนโลยีในการเพาะปลูกพืช รูปแบบการจำหน่ายผลผลิตและระบบราคาผลผลิตทางการเกษตร

 

Spatial Models for Assessing Agricultural Land Use A Case Study of the Lower Pattani River Basin

This article was designed to develop the spatial model of land use suitability at Pattani basin and surrounding areas in Pattani province. Using the principle of integration and collect data from multiple sources such as the interpretation of Remote sensing (Landsat TM and Spot 5 satellite imagey and aerial photography) and monitoring data from field surveys, soil unit of landsuit data of The Land Development Department and study on the demographic characteristics from the document reports of the Office of Community Development, Pattani province, District Agricultural Office and related agencies. Assessing the suitability of the land use by using Geographic Information System (GIS) as cost effective techniques were used to develop and created spatial modeling. Analysis techniques to determine the weight-score, overlay and the appropriate interpretation of land use. The physical factors using by the guidelines of the Land Development Department and economic factors using by the cost of 4 major crops include : rice, rubber, fruit mixture and coconut, from the questionnaires were 60 samples household analyzed using mean, range and percent of income, variable costs, net return over variable costs and rate of net return.

The results was found that most of the area or about 225,223.20 rai (67.80%) with the use of agricultural land in accordance with the physical condition of the land and return it to the subsistence level, inappropriate land use with the physical condition about 62,406.88 rais (18.79 %). The model can be used in policy formulation, planning, promotion and development of land suitable for agricultural potential of the land. The guidelines focus on promoting the conversion of agricultural land management to improve the quality of the soil, to transfer knowledge and technology to cultivate crops, the production and distribution system for agricultural products.

Downloads

How to Cite

แสงมณี ว. (2012). แบบจำลองเชิงพื้นที่เพื่อประเมินความเหมาะสมการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรม กรณีศึกษาบริเวณลุ่มน้ำปัตตานีตอนล่าง. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 8(2), 1–30. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85729