พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Authors

  • อัญญ์นิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ฤทัยชนนี สิทธิชัย ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ, การแสวงหาสารสนเทศ, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, การร์สารสนเทศ, Information Seeking Behavior, Information Seeking, Post-Graduate Students, Prince of Songkla University, Information Literacy

Abstract

งานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2) ปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ์ และวิทยาเขตปัตตานี ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2554 จำนวนทั้งสิ้น 358 คน และผู้วิจัยได้รับแบบสอบถาม กลับคืนมาจำนวน 297 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 82.96 สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติเชิงอ้างอิง Chi-squared, T- Test

ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อประกอบการทำ วิทยานิพนธ์ในระดับมากที่สุด แหล่งสารสนเทศที่ใช้ในระดับมากได้แก่ สำนักวิทยบริการ ในด้านรูปแบบสารสนเทศ มีความต้องการสารสนเทศในลักษณะข้อความที่มีเนื้อหาเต็ม (Full Text) ในระดับมากที่สุด ประเภทงานส่วน ใหญ่ที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้รับมอบหมายคือ การนำเสนอผลงานในชั้นเรียนทรัพยากรที่นักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษาใช้ในระดับมากที่สุดคือโปรแกรมค้นหา เช่น Google, Bing, Yahoo, Ask.com เกณฑ์การประเมิน สารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ที่นักศึกษาให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดคือ ความทันสมัยของแหล่งข้อมูล การ ประเมินแหล่งข้อมูลหรือสารสนเทศในเว็บไซต์นักศึกษาให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดคือ ความน่าเชื่อถือของ ผู้ให้ข้อมูล การศึกษาค้นคว้างานที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานักศึกษามีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศระดับมากใน เรื่อง การวางแผนการค้นคว้า โปรแกรมที่นักศึกษาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นในระดับมากที่สุด คือโปรแกรมแชร์ เอกสาร สิ่งที่นักศึกษาให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดคือ การทำรายงานเสร็จ ความยากในกระบวนการค้นคว้า ในระดับมากคือการกำหนดหัวข้อ ฐานข้อมูลที่นักศึกษาใช้ในระดับมากได้แก่ DCMS, TDC, PSU Knowledge Bank และ ThaiLIS ส่วนฐานข้อมูลรายการอ้างอิงที่ใช้ในระดับมากคือ Web of Science ฐานข้อมูลที่สำนักวิทย บริการจัดทำขึ้นทุกฐานนักศึกษามีการใช้ในระดับปานกลาง ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในระดับมากคือ Dissertations Full Text วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในระดับมากคือEducation Research Complete ปัญหา ในการแสวงหาสารสนเทศที่ประสบในระดับมากได้แก่ การกำหนดคำที่ใช้ในการสืบค้น หนังสือในสาขาวิชาที่ท่าน ศึกษามีจำนวนน้อย จำนวนพริ้นเตอร์ไม่เพียงพอ อินเทอร์เน็ตช้า และการสืบค้นข้อมูลจาก OPAC

 

Information Seeking Behavior of Post-Graduate Students at Prince of Songkla University

The research, entitled Information Seeking Behavior of Post-Graduate Students at Prince of Songkla University, was conducted to examine 1) the information seeking behavior of the post-graduate students regarding purposes, information type, sources and seeking method, and 2) the information seeking problems of the students. The samples included 358 postgraduate students at Hatyai and Pattani campuses of Prince of Songkla University in 2012 academic year. 297 questionnaires, equal to 82.96 percent, were given back for data analysis. Descriptive statistics, frequency, mean, percentage and standard deviation,Chi-squared and T-test were used for analyzing information seeking behavior and problems.

The research discovered that the highest level of purposes in seeking information was concerning their theses completion. The information source used at a high level was the Office of Academic Resources. Full text was at the highest level of the required information category. Class presentation was the major assignment of the students. The most frequently used resources were search engines like Google, Bing, Yahoo and Ask.com. Regarding the evaluation of printed information, the most important criteria from the students’ perspective was its currency, while the reliability was the most crucial criteria for the online sources. In relation to their courses, the high level of searching behavior was on the planning for assignment completion. The most frequently used search engines were file-share programs like Google documents. Students found topic identification the most difficult in the searching process at a high level. The databases used at a high level by the students were DCMS, TDC, PSU Knowledge Bank and ThaiLIS. Web of Science was the reference e-database that was used at a high level. All databases created by the Office of Academic Resources were used at an average level. Dissertations Full Text was an e-book employed at a high level, and Education Research Complete was an e-journal that was at a high level of utilization. Formulation of search terms, insufficient relevant books, inadequate printers, ineffective Internet and OPAC searching were at a high level of information seeking problems.

Downloads

How to Cite

รุ่งวิชานิวัฒน์ อ., & สิทธิชัย ฤ. (2013). พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 9(1), 85–118. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85725