ปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนเมืองปัตตานี

Authors

  • พรปวีณ์ ศรีงาม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

ปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม, ชุมชน, เมืองปัตตานี, Cultural Interaction, Community, Muang Pattani

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมจากโครงสร้างของ ระบบความคิด ความเชื่อ โลกทัศน์ และโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจ อีกทั้งเพื่อศึกษากระบวนการของการ มีปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยการรับ การปรับปรน การผสมผสาน และความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ตลอดจนการนำเสนอแนวทางในการบูรณาการทางวัฒนธรรม และแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ในมุมมองมิติทางวัฒนธรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ (Historical Research) การเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารทั้งหลักฐานชั้นต้น (Primary Source) หลักฐานชั้นรอง (Secondary Source) และวิธีการประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า(Oral History) รวมทั้งวิธีวิจัยสนาม (Field Research) สังเกตการณ์จากกลุ่มตัวอย่างชุมชน 4 ชุมชนในเมืองปัตตานี ประกอบด้วยชุมชนรูสะมิแล ชุมชนอาเนาะรู ชุมชนปะกาฮารัง และ ชุมชนบานา เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่าเมืองปัตตานีเคยมีความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ด้วยความ เจริญของการคมนาคมและการค้าทางทะเล โดยได้รับอิทธิพลจากศูนย์กลางที่สำคัญสองแห่ง คือ อินเดีย และจีน นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอาหรับและเปอร์เซียผ่านพ่อค้าที่เดินทางเข้ามาค้าขาย ผสมผสานกับ วัฒนธรรมมลายูดั้งเดิม (Proto-Malay) ที่สั่งสมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่งผลให้วิถีคิดและวิถีปฏิบัติ ของชุมชนเกิดความภาคภูมิใจอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง ลักษณะปฏิสัมพันธ์ระบบโครงสร้างทาง ความคิด ความเชื่อ และโลกทัศน์ โครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจจะมีความสอดคล้องกับอิทธิพลความ เชื่อทางศาสนาที่ตนเองนับถือ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในชุมชนเมืองปัตตานีมีผลทำให้เกิด การปรับตัวและการผสมผสานทางวัฒนธรรมอยู่มาก ประเพณีและพิธีกรรมบางอย่างมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ประเพณีโกนผมไฟ ประเพณีลาซัง วัฒนธรรมการโภชนาการ วัฒนธรรมทางด้านการแต่งกาย เป็นต้น แต่ ขณะเดียวกันก็เกิดความขัดแย้ง การต่อต้านทางวัฒนธรรม สืบเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ของรัฐบาลไทย การผนวกดินแดนปัตตานีเป็นความพยายามเพื่อการหลอมรวมอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ภายใต้ เหตุผลของลัทธิอาณานิคมภายในชาติ (Internal-Colonialism) ที่มุ่งยึดถือเรื่องของอำนาจรัฐศูนย์กลาง เหนือดินแดนครอบครอง ในขณะที่ความพยายามที่จะเป็นอิสระในการปกครองตนเองของกลุ่มแบ่งแยก ดินแดนต่างมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอัตลักษณ์ความเป็นมลายูมุสลิม ทางด้านศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม ปัจจุบันการต่อสู้เรียกร้องรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจนมิใช่เป็นเพียงการเรียกร้องความยุติธรรมแต่กลายเป็นลักษณะ ของท้องถิ่นนิยม หรือภูมิภาคนิยม (Regionalism) ดังนั้น ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมของ ชุมชนเมืองปัตตานี แนวทางการบูรณาการทางวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการอยู่ร่วมกันในชุมชน ภาครัฐควรมีการเปิดใจกว้างให้มากขึ้น ควรมีคณะกรรมการรับฟังและชำระประวัติศาสตร์ ควรให้การสนับสนุน อัตลักษณ์และอนุรักษ์วัฒนธรรมของคนในพื้นที่ทุกรูปแบบ มีอิสระในการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา ที่ไม่ขัด ต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี และควรร่วมมือกับผู้นำศาสนาที่มีชื่อเสียง หรือมีความรู้ ความสามารถซึ่ง ประชาชนให้ความเชื่อมั่นและศรัทธามาให้ความรู้ความเข้าใจวิธีปฏิบัติอย่างถูกต้อง ตามหลักศาสนาอิสลาม ควรส่งเสริมให้คนในพื้นที่ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มเติมจากการเรียนรู้ภาษาพื้นถิ่น ควบคู่กันไป เพื่อให้ผู้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับรู้ เข้าใจ วัฒนธรรมและวิถีการใช้ชีวิตของผู้คน อันแตกต่างหลากหลายที่อยู่ในส่วนต่างๆของประเทศไทย ส่วนแนวทางการบูรณาการทางด้านการปกครอง ภาครัฐควรปรับการใช้กฎหมายที่บังคับใช้ให้มีความสอดคล้องกับเหตุการณ์ในแต่ละพื้นที่ คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และผ่อนปรนให้มีการมอบตัวของผู้ที่สำนึกผิด ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการฯลดปฏิบัติการที่ใช้ความรุนแรงลง และหาทางออกร่วมกัน โดยใช้แนวทางการบูรณาการวัฒนธรรม ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยที่กลุ่มเชื้อชาติและวัฒนธรรมจะสามารถอยู่ร่วมกันภายในกรอบทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมเดียวกันได้ และแต่ละกลุ่มต่างก็ยอมรับถึงอัตลักษณ์ ความแตกต่างของกันและกัน

 

The Cultural Interaction of the Community of Muang Pattani

This research aims to study the nature of the interaction structure of a system of cultural beliefs and social structures and economic. And also to study the process of cultural interaction including acceptation, adaptation, integration and cultural conflict as well as cultural integration. This proposed approach to conflict resolution in the deep South in view of the cultural dimension. The methodology of historical research, primary source, secondary source and the oral history, as well as field research have been applied throughout this study. The sites of observations are four local community groups in Pattani comprising Rusamilae, Anakru, Pakaharang and Bana and analyzing data using descriptive analysis.

The results showed that glorious Pattani in terms of economic, social and cultural implications of trade and maritime transport. This also influenced by two major centers of India and China together with Arab and Persian traders who arrived via trade. Combined with traditional Melayu culture (Proto-Malay) which accumulated since prehistoric periods. All of these, impacted ways of thinking and practices of community pride and their own cultural identity. The interaction of belief systems, economic and social structure influenced by their religious beliefs. The process of cultural interaction of the community of Muang Pattani resulted in the adaptation and cultural integration. Then some of traditions and rituals were similar like shaving hair the way of consuming, dress code etc. Somehow, these also comflited occurring as resistance due to the cultural policy of the Thai. The territory annexed Pattani was an attempt to fuse the different identities under the logic of internal-colonialism in the country to the extent of central government authority over occupied territory. While trying to break free of self-government of the secessionist group that aims to preserve the identity of the Malayan Muslim religion and culture. The battle to claim the increase was not only justice but became growth local or regionalism. So amongst the cultural diversity of the communities in Pattani, the cultural integration was the most important aspect of living together in community. Government should be more open minded. The Board should fully listen and pay attention to the history. Moreover, they should support and preserve all forms of cultural identities of people; including the freedom to live along with their respected religion that was not contrary to law and morality. On top of that, closely contact to famous religious leaders will strengthen public’s confidence and fasten faith to understand how to properly comply with Shariah. In addition, by encouraging people in the area, especially children and youth to study Thai aside their native language. And provide chances to people in the Southern provinces to get to know and aware diverse cultures and way of lives as well as the integration of the region. Government should use law enforcement to be consistent with events in the area. Taking into account the human rights and relief for the surrender of those who repent in order to reduce the movement of the violence. With the integration of cultures, acceptance of cultural diversity with ethnic and cultural groups believe that these can coexist within the same political, economic and social.

Downloads

How to Cite

ศรีงาม พ. (2013). ปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนเมืองปัตตานี. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 9(1), 73–84. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85723