ทัศนคติต่อการนำระบบการหมุนเวียนงาน (Job Rotation) มาใช้กับเจ้าหน้าที่ในสายงานเดียวกัน : กรณีศึกษาผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Authors

  • รัตติยา ปริชญากร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

ความภักดีของลูกค้า, พฤติกรรมผู้บริโภค, แบบจำลองสมการโครงสร้าง, Attitude, Job Rotation System

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยธุรการที่มีต่อระบบการ หมุนเวียนงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนและงานธุรการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยและร้อยละ และใช้ Fisher’s exact test สำหรับการเปรียบเทียบทัศนคติต่อระบบ การหมุนเวียนงาน

ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 83.3 เห็นว่าการนำระบบการหมุนเวียนงานมาใช้จะมีผลดี ร้อยละ 72.6 เห็นด้วย หากองค์กรจะนำระบบการหมุนเวียนงานมาใช้ ร้อยละ 49.2 เห็นว่ารอบระยะเวลาที่เหมาะสมในการหมุนเวียนงาน คือ 1 ปี ทัศนคติต่อระบบการหมุนเวียนงานแยกตามเพศ และแยกตามอายุการทำงาน พบว่า เพศชาย ร้อยละ 100 ชอบทำงานใหม่ ๆ ที่ได้แสดงถึงการท้าทายความสามารถ และร้อยละ 83.3 เห็นว่าระบบการหมุนเวียนงานมีประโยชน์ เพศหญิง ร้อยละ 88.5 ยินดีที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงงานในหน้าที่ เมื่อแยกตามอายุการทำงาน พบว่า ผู้ที่มีอายุ การทำงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 68.9 เห็นว่าการใช้ระบบหมุนเวียนงานไม่เป็นอุปสรรคในการทำงานแตกต่างจาก กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี และ 5-10 ปี เพศหญิงยินดีที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงงานในหน้าที่ของตนมากกว่า เพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.036) ผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุการทำงาน 5 -10 ปี และมากกว่า 10 ปี มีความเข้าใจการปฏิบัติงานในลักษณะหมุนเวียนงานมากกว่าผู้ที่มีอายุการทำงานน้อยกว่า 5 ปี อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.001)

 

Attitude of Using Job Rotation System : The Study in Officer Administration of Department, Faculty of Medicine, Prince of Sonkhla University

The objective of this research is to examine the officer’s attitude towards using job rotation system in faculty of medicine PSU.

In this crossed sectional survey, the 93 officers in administration office and medical education office were enrolled. Data were collected using a questionnaire developed by the investigator and were analyzed by descriptive analysis using means and percentage, some interesting data were analyzed for statistical significant and use fisher’s exact test to compare attitude of job rotation system.

Results of the study. 83.3% of subjects agreed that job rotation system was appropriated tool. 72.6% of officers agreed about using job rotation in their office. 49.2% of subjects had the opinion that the suitable time for one circle of job rotation 1 year. Examining the attitude to job rotation system found that 100 of male officers liked rotated job because of it’s challenge and 83.3% recognized the usefulness of the system. 88.5% of female officers agreed to rotate work with their colleagues. The officers who have been on duty more than 10 years 68.9% had opinion that job rotation was not their obstacles to work. Female officers were willing to accept changes in their duties more than male (95% confidence interval P = 0.036 compared with duty Female and male). The officers have been on duty five-ten years and more than ten years had understanding work in a job rotation more than the officers less than five years. (95% confidence interval P = 0.001)

Downloads

How to Cite

ปริชญากร ร. (2013). ทัศนคติต่อการนำระบบการหมุนเวียนงาน (Job Rotation) มาใช้กับเจ้าหน้าที่ในสายงานเดียวกัน : กรณีศึกษาผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 9(1), 41–56. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85721