ปัญหาเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา : สถานการณ์ความไม่เสมอภาคในสังคมไทย

Authors

  • ดำรงค์ ตุ้มทอง สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พัชรินทร์ สิรสุนทร ภาควิชาสังคมวิทยาฯ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รัตนะ บัวสนธ์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา, ความไม่เสมอภาคทางการศึกษา, Underprivileged children in education, Inequality of education

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อนำเสนอสถานการณ์ความไม่เสมอภาคทางการศึกษาที่ยังมีอยู่ในกลุ่มเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษา บทความนี้ผู้เขียนได้ใช้การวิจัยเอกสาร (Document Research ) ทั้งไทยและต่างประเทศย้อนหลัง 8 ปี โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเบื้องต้นกับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาโดยใช้สถิติ Chi-Square Test

ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีนโยบายการเรียนฟรี 15 ปีแล้วก็ตาม โดยพบว่าโรงเรียนยังเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เรียกว่า “ค่าบำรุงการศึกษา” นอกจากนี้ประเภทของเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาที่พบมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) เด็กยากจน 2) ประเภทอื่นๆ และ 3) เด็กถูกปล่อยปละละเลย ส่วนภูมิภาคและสาเหตุของความด้อยโอกาสที่พบมากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ สำหรับปัจจัยเบื้องต้นที่สัมพันธ์กับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาได้แก่ เพศ ภูมิลำเนา และระดับชั้นเรียน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ประกอบด้วยปรับรูปแบบการจัดการศึกษาให้มีความเหมาะสมกับเด็กทุกกลุ่ม ส่งเสริมทุกภาคีที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังเพื่อให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย และส่งเสริมให้มีการจัดสวัสดิการสำหรับเด็กในรูปแบบต่างๆ เช่น กองทุนการศึกษา บริการรถเดินทางสำหรับเด็กที่มีภูมิลำเนาห่างไกลจากโรงเรียน

 

Problem of underprivileged children in education: situation of inequality in Thailand

This article had 2 major objectives. These included 1) to investigate problematic situation of underprivileged children in education and 2) to provide policy recommendations for solving inequality education. By applying documentary research, the author reviewed numbers of academic publications during the last 8 years. Then, content analysis was adopted before statistical method of Chi–square was used. The findings were as followed:

The number of underprivileged children in education has steadily increased throughout the past 8 years. Although the 15 year free education policy was launched, some schools still ask for some other extra fees. Besides, it was found that the top three types of underprivileged children in education were: 1) poor children, 2) other types, and 3) the abandoned child. Northeast region was the most vulnerable. Its lack of basic living was the major cause. Basic common factors included sex, hometown, and class levels were found related with underprivileged children in education. Policy recommendations were 1) the governor or involving organizations should promote educational friendly for all student groups, 2) participatory as well as cooperation among all involving agencies from all sectors should be highlighted, and 3) educational innovations such as vulnerable children fund and school bus should be available for school children living in remote area.

Downloads

How to Cite

ตุ้มทอง ด., สิรสุนทร พ., บัวสนธ์ ร., & ศิริพรไพบูลย์ ท. (2014). ปัญหาเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา : สถานการณ์ความไม่เสมอภาคในสังคมไทย. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 10(1), 123–141. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85712